Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71687
Title: เกณฑ์การกำหนดขนาดตัวอย่างและช่วงเวลาในการชักตัวอย่าง สำหรับแผนภูมิแบบผลรวมความเบี่ยงเบนสะสม
Other Titles: Criteria for determining sample size and sampling interval for cumulative-sum control charts
Authors: วิภาดา จูงหัตถการสาธิต
Advisors: เหรียญ บุญดีสกุลโชค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Rein.B@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมการผลิต -- แผนภูมิ
วิจัย -- แผนภูมิ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Production control -- Charts, Diagrams, etc.
Research -- Charts, Diagrams, etc.
Standard deviations
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แผนภูมิการควบคุมผลรวมความเบี่ยงเบนสะสม (Cusum control chart) เป็นเครื่องมีอทางสถิติที่ใช้กับกระบวนการที่เลื่อนไปจากค่าเป้าหมายไม่เกิน 2 เท่าของค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการใช้แผนภูมิแบบดั้งเดิมจะเก็บตัวอย่างด้วยขนาดตัวอย่างและช่วงเวลาในการชักตัวอย่างที่คงที่ ทำให้แผนภูมิด้อยประสิทธิภาพในบางครั้งเนื่องจากกระบวนการผลิตได้เลื่อนไปจากค่าเป้าหมายก่อนที่จะถึงช่วง เวลาเก็บตัวอย่างตามปกติ จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าการกำหนดให้ค่าขนาดตัวอย่างและช่วงเวลาในการชักตัวอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะของกระบวนการจะทำให้แผนภูมิสามารถบอกสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปได้ไวกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับแผนภูมิชิวฮาร์ตที่เปลี่ยนแปลงค่าทั้งสองเช่นเดียวกัน พบว่า แผนภูมิการควบคุมผลรวมความเบี่ยงเบนสะสมที่มีขนาดตัวอย่างและช่วงเวลาในการชักตัวอย่างไม่คงที่ สามารถบอกสภาวะที่กระบวนการเลื่อนไปจากค่าเป้าหมายได้ไวกว่าแผนภูมิการควบคุมชิวอาร์ต ที่มีขนาดตัวอย่างและช่วงเวลาในการชักตัวอย่างไม่คงที่ นอกจากนั้นยังสามารถใช้แผนภูมินี้กับข้อมูลที่มีการกระจายเป็นแบบปัวซองที่มีข้อมูลมากพอที่จะประมาณค่าเป็นการกระจายแบบปกติได้
Other Abstract: Cumulative-Sum (cusum) control chart is a statistical tool for detect process shift about 2 times standard deviation of data. Traditional cusum control chart used fixed sample size and sampling interval which sometimes is not efficient as process shift has occured before sampling. Cusum chart with vary sample size and sampling interval is sensitive than traditional chart. When compare this chart with Shewhart control chart in the same situation, we find that cusum chart with vary sample size and sampling interval is more sensitive than Shewhart control with vary sample size and sampling interval chart too. This chart can apply for Poisson distribution if can be approximated to normal distribution.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71687
ISBN: 9746383477
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipada_jo_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ375.15 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch1.pdfบทที่ 1249.66 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch2.pdfบทที่ 2541.77 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch3.pdfบทที่ 3483.67 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch4.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch5.pdfบทที่ 5813.92 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_ch6.pdfบทที่ 6308.16 kBAdobe PDFView/Open
Wipada_jo_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก744.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.