Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7937
Title: กระบวนการสื่อสารในการรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมารดาของ "กลุ่มนมแม่"
Other Titles: Communication process of "Nommae group" breastfeeding campaign
Authors: พรดี สะสมบัติ
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารในกลุ่มขนาดเล็ก
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารในการรวมกลุ่มและกระบวนการสื่อสาร ในการรณรงค์ไปยังสาธารณชนของกลุ่มนมแม่ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน และการวิเคราะห์เอกสาร รวมทั้งการสังเกตแบบไม่มีส่วนรวม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสาร ของกลุ่มนมแม่ ในการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา สามารถแบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ 1) ระยะก่อตั้ง โดยเริ่มจาก พญ. สุวิมล ชีวมงคล ตระหนักถึงปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) ระยะหาแนวร่วม มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงาน และหาผู้สนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม ในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนแถลงข่าวเปิดตัวกลุ่มนมแม่ต่อสาธารณชน 3) ระยะดำเนินกิจกรรม กลุ่มนมแม่ มีสถานที่กลางในการดำเนินงาน และมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารไปยังสมาชิกและผู้ที่สนใจเพิ่มขึ้น 4) ระยะขยายข่าย กลุ่มมีการขยายแนวร่วมไปยังสังคมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการเผยแพร่การรณรงค์ผ่านทางสื่อมวลชน และ 5) ระยะกลุ่มเข้าสู่ระบบโครงสร้างของสังคม กลุ่มนมแม่สามารถผลักดันเรื่องนมแม่ให้กลายเป็นนโยบายระดับประเทศได้สำเร็จ จึงตัดสินใจยุติ บทบาทการดำเนินงาน เนื่องจากบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กระบวนการสื่อสารของกลุ่มนมแม่ใน การรณรงค์ต่อสาธารณชน ประกอบไปด้วย 8 ขั้นตอนคือ (1) การกำหนดเป้าหมายในการรณรงค์ คือ ส่งเสริมให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ (2) วัตถุประสงค์ของการรณรงค์ คือเป็นกำลังใจ การสร้างกระแสเผยแพร่ความรู้ และสร้างเครือข่ายสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ (3) กำหนดกุล่มเป้าหมายในการรณรงค์ คือคุณแม่ที่มีการศึกษา และผู้มีส่วนในการสนับสนุนการ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (4) การกำหนดข้อมูลและประเด็นในการรณรงค์ 3 ประเด็นคือ ใคร ๆก็ให้นมแม่ที่ ไหน ๆ ก็ให้นมแต่ และเลี้ยงลูกต้องเป็นทีม (5) ช่องทางการสื่อสาร ประกอบด้วย สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อกิจกรรม สื่อเฉพาะกิจหรือสื่อรณรงค์ และสื่อพิเศษ (6) กลยุทธ์การใช้สารของกลุ่มนมแม่ ซึ่งได้แก่ กลยุทธ์การนำเสนอสารที่เป็นข้อเท็จจริง เสนอความเป็นเหตุเป็นผล ใช้กลุ่มอ้างอิงหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง นำเสนอสารที่เน้นข้อความสะดุดหู นำเสนอสารที่ให้กำลังใจ และสารที่เป็นการสร้างสัญญลักษณ์ร่วม (7) กลยุทธ์การใช้สื่อของกลุ่มนมแม่ ประกอบด้วย การซื้อสื่อเองในราคาพิเศษ การใช้สื่อบุคคลที่มี ชื่อเสียง การนำเสนอประสบการณ์ตรงในการแก้ปัญหา การจับกระแส และเลือกนำเสนอประเด็นที่สังคมสนใจ ความสม่ำเสมอในการตอบรับ การใช้สัมพันธภาพอันดีกับสื่อ วางตนพร้อมที่จะให้ข่าว และการใช้สื่อผสม และ (8.)การวิจัย กล่มนมแม่มีการใช้การวิจัยโดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและวิจัยกับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนงานรณรงค์ต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สรุปประเด็นที่สำคัญที่กลุมนมแม่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ คือ กลุ่มนมแม่ใช้รูปแบบการสื่อสารในการสร้างและขยายกลุ่ม โดยใช้การสื่อสารแบบปากต่อปากและการสื่อสารผ่าน Connection เป็นหลัก รวมทั้งใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านทางสื่อกิจกรรมในรูปแบบคุณแม่อาสาโดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างคุณแม่สู่คุณแม่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้ มีการสื่อสารผ่านหน่วยงานที่หลากหลายโดยดึงความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้านของแต่ละฝ่ายมาสนับสนุนในการดำเนินงานซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นยังแสวงหาความร่วมมือจากสื่อมวลชนเพื่อสร้างกระแสเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แพร่หลายในสังคม มีการจับกระแสช่วงเทศกาลหรือวันสำคัญเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงตามความต้องการของผู้รับสารแต่ละกลุ่ม
Other Abstract: The purpose of this research is to study the procedure of communication in forming "Nommae Group" and the procedure of communication in promoting Breast-feeding campaign. The qualitative research methodology using a documentary research technique, non-participation observation and in-depth interviews are used with 20 key informations in this study. The results of the research are as follow : The communication process of "Nommae Group" in forming a group to support breast-feeding can be described in 5 period 1) Initial Set-up Period : Suwimon Cheewamongkol, a physician, in aware of problems with breast-feeding persuaded friends and acquaintance to gather and brainstorm with technicians in finding reasons to the state problems 2) Seeking Alliance Period "Nommae Group" gathered from a group of mothers played roles in transferring knowledge and exchanging experiences among them. After that, they further persuaded more acquaintance to join the group. 3) Activity Period : "Nommae Group" set up ways to contact and communicate with members such as arranging activities and communicating via internet, telephone and pamphlets. 4) Expansion Period: This period was about spreading information into other social groups and publicizing breast-feeding campaign through mass media. 5) Social Agenda Period: Increase in social acceptance and breast-feeding behavior enabled the issue of breast-feeding into public policy. "Nommae Group" decided to stop its role. The communication process of breast-feeding campaign consists of (1) Set goals for coampaigning (2) Set up objective of campaigning (3) Set target Group (4) Identify data and issues of campaign (5) Identify communication channels including persons, mass media, activities, ad hoc or campaign, and specially (6) Identify message strategy : rational, truth presenting, status, striking message, enthusiastic message and common symbol (7) Identify media Strategy : purchase of the media at reduced price, using celebrities, presenting direct experiences, presenting issues of public interest, regularity of reply, good relations to media, ready for press release and applying mexed media (8) Research: conducting research on target group and related population for future plans on increasing efficiencey of next campaign. The main conclusion that breast-feeding campaign used for promoting were breast-feeding campaign used person-to-person communication and communicate through connections, including using personal communication through Volunteered Mother by sharing knowledge and experiences among mothers that can change attitude and behavior of target group. And communicate through various groups by utilizing skills and expertise of each group complemet each other. It also sought public communicate through to spread trend of breast-feeding and utilized special occasions to create interest. And utilized various communication channels to reach demands of each target group. Nommae group also sought public communication to spread trend of breast-feeding, and utilized special occasions to create interest. And utilized various communication channels to reach demands of each target group.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7937
ISBN: 9741433166
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornradee_Sa.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.