Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82165
Title: แนวทางแก้ไขปรับปรุงนิยามของสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547
Authors: สมพล โตถาวร
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: โรงแรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
อุตสาหกรรมโรงแรม
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การท่องเที่ยวในประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมการบริการหลักของประเทศโดยมีการกำลังการเติบโต และมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งนี้สิ่งที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คือ มีการส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการพื้นฐานที่รองรับนักท่องเที่ยวในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เมื่อพิจารณากฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรมที่กล่าวถึงคำนิยามของโรงแรมมีอยู่เพียง 1 ฉบับคือ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 โดยเป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้เป็นระยะเวลานานซึ่งเนื้อหาของพระราชบัญญัติดังกล่าวอาจจะไม่สอดคล้อง และทันต่อสถานการณ์ของสถานที่พักในปัจจุบัน นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า คำนิยามของโรงแรมอยู่ในการควบคุมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ทำให้ธุรกิจสถานที่พักหลายแห่งไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตของคำนิยามดังกล่าว และทำให้เกิดปัญหาจากการบังคับใช้คำนิยามของสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามมา อาทิ การแบ่งประเภทของโรงแรมในประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมสถานที่พักในหลากหลายรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตามที่กฎหมายได้มีการแบ่งประเภทของโรงแรมออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนห้องพัก และจำนวนผู้เข้าพัก อย่างไรก็ตามการจัดประเภทของโรงแรมดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมถึงสถานที่พักในหลากหลายรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงทำให้สถานที่พักบางแห่งไม่ถูกจัดเป็นสถานที่พักที่เป็นโรงแรมตามกฎหมาย จากการศึกษาเปรียบเทียบ คำนิยามของ “สถานที่พักที่เป็นโรงแรม” และ “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม”ของประเทศไทย รวมถึงมาตรการทางกฎหมายต่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร พบว่าคำนิยามของสถานที่พักที่เป็นโรงแรมมีลักษณะที่คลอบคลุมถึงสถานที่พักอื่น ๆ ด้วย เช่น อาศัย บ้านพัก และเกสท์เฮ้าส เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงสถานที่ของรัฐ และเป็นสถานที่ที่ต้องมีความพร้อมที่จะเสนอบริการ และเต็มใจที่จะรับนักเดินทาง โดยผู้ประกอบธุรกิจสถานที่พักไม่มีสัญญาพิเศษต่อผู้เข้าพัก และ คำนิยามของคำว่าสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมของประเทศสิงคโปร์กำหนดยกเว้นให้สถานที่พักคือ บ้านพักซึ่งได้รับใบอนุญาตตาม Merchant Shipping Act ให้เป็นบ้านพักสำหรับผู้แสวงบุญชาวอิสลาม สถานที่ให้เป็นบ้านพักสำหรับลูกเรือภายใต้ Nation Maritime Board Act และ สถานที่อื่น ๆ ซึ่งได้รับการยกเว้นโดยกฎหมาย อาทิ หอพักนักศึกษา ที่พักสำหรับสมาชิกของสมาคม หรือสถาบันอื่น ๆ ที่ได้รับอนุมัติ และคำนิยามของคำว่า “สถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม” หมายถึง สถานที่พักที่เจ้าของใช้สิทธิ์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในการเลือกแขก หรือนักเดินทางที่จะมาใช้บริการ หรือห้ามมิให้บุคคลบางกลุ่ม เข้าใช้บริการสถานที่พักโดยสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ไม่มีสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ประเทศไทยควรนำกฎหมายประเทศสิงคโปร์ และสหราชอาณาจักรมาปรับใช้กับการกำหนดคำนิยามของโรงแรมในเรื่องข้อจำกัดของห้องพัก และจำนวนผู้เข้าพักตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อธุรกิจสถานที่พักในปัจจุบัน และเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจสถานที่พักได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์จากภาครัฐอย่างเท่าเทียม
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82165
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.173
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2022.173
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480247934.pdf759.95 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.