Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10508
Title: การใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท ทีเอ็ม ช่วงคลื่นความร้อนในการตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิพื้นผิว : ผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอาคารสูงในเขตกรุงเทพฯ
Other Titles: Utilizing Landsat TM thermal band to investigate variation of surface radiant temperature : the effects of high rise buildings in Bangkok metropolis
Authors: สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ
Advisors: บรรเจิด พละการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Banjerd.P@chula.ac.th
Subjects: แลนแซท
โดมความร้อนของเมือง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการขยายตัวของเมืองเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันหนึ่งของกรุงเทพฯ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบกับความจำกัดในด้านพื้นที่ ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอาคารสูงเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่มีมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปรากฎการณ์โดมความร้อนเหนือมหานคร ที่ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุณหภูมิพื้นผิวได้ ด้วยข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมแลนด์แซท ทีเอ็ม ช่วงคลื่นความร้อนสามารถบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินกับอุณหภูมิพื้นผิว เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของอาคารสิ่งปลูกสร้างจะส่งผลทำให้อุณหภูมิพื้นผิวในกรุงเทพฯเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในบริเวณที่มีอาคารหนาแน่นจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น จากการศึกษาโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของอาคารกับอุณหภูมิพื้นผิวในระดับกลุ่มอาคาร ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่าในบริเวณกลุ่มอาคารที่มีความสูงเฉลี่ย 1-23 เมตร เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงที่สุด และรูปแบบของอาคารในบริเวณที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงนั้นจะมีลักษณะเป็นอาคารแถวที่มีความสูงใกล้เคียงกันและอยู่ชิดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เช่น ตึกแถว อาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร โรงงานและคลังสินค้า นอกจากนี้ในบริเวณที่มีบ้านเรือนขนาดเล็กที่ปลูกชิดกันอย่างหนาแน่นก็พบว่าเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยสูงเช่นกัน ซึ่งอุณหภูมิพื้นผิวที่ได้จากดาวเทียมช่วงคลื่นความร้อนนี้จะช่วยทำให้การวางผังเมืองและการออกแบบภูมิทัศน์ เพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดจากอาคารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: Urban expansion is one kind of phenomena occurred in Bangkok, in which caused by high amount of population in a limited area. As a result, the cost of land and the quantity of tall buildings are higher so as to use the area effectively. According to the data from Landsat TM, the finding suggests that thermal band can indicate the relationship between the landuse and surface radiant temperature. The higher density of building occurred, the higher surface radiant temperature encountered. In addition, satellite imagery and aerial photograph signify the relationship between the building height and surface radiant temperature in building clusters. The result showed that 1-23 meter tall building clusters have the highest surface radiant temperature. Apart from the height of building, the building pattern can effect surface radiant temperature as well. For example a lot of closed buildings with the same height i.e. residential buildings, commercial buildings, real estate housings, factories, and, warehouses can increase surface radiant temperature. Dense small houses also increase surface radiant temperature. For the above reason, we can conclude that surface radiant temperature derived from the satellite thermal sensor can beneficially apply to use in urban planning and landscape design so as to reduce the heat radiated from buildings.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10508
ISBN: 9741713592
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujittra.pdf13.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.