Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16246
Title: การรำของตัวโขนยักษ์ในเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอ
Other Titles: The dance of demon role in Naphat Samer songs
Authors: เกิดศิริ นกน้อย
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: โขน -- ไทย
เพลงหน้าพาทย์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอ รวมทั้งศึกษากระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอ องค์ประกอบของการรำ ตลอดจนวิเคราะห์กระบวนท่ารำ และหลักในการรำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวยักษ์ ภายในวิทยาลัยนาฏศิลปและสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องศึกษากระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอและรับการถ่ายทอดท่ารำ สัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในการสอนและการแสดง จากการศึกษาพบว่า เพลงหน้าพาทย์เสมอเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ปรากฎว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยคำว่า เสมอ มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า ถะเมอ แปลว่า เดิน ซึ่งความหมายของเพลงหน้าพาทย์เสมอ หมายถึงเพลงที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวละครในการเดินทางระยะใกล้ๆ เพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอของตัวยักษ์ประกอบไปด้วย 7 เพลง ด้วยกันได้แก่ 1) เพลงเสมอ 2) เพลงเสมอมาร 3) เพลงเสมอสามลา 4) เพลงเสมอข้ามสมุทร 5) เพลงเสมอเถร 6) เพลงพราหมณ์เข้า 7) เพลงพราหมณ์ออก การรำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอในกรมศิลปากร เป็นท่ารำที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามาสู่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์และถ่ายทอดผ่านครูของกรมมหรสพในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 จนมาถึงกรมศิลปากรในปัจจุบัน ในการรำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอมีองค์ประกอบในการรำซึ่งประกอบไปด้วย จารีตในการใช้เพลงหน้าพาทย์เสมอ บทที่ใช้ประกอบการแสดง คุณลักษณะของผู้แสดง เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง เครื่องดนตรีหน้าทับ ไม้กลอง และทำนองเพลงที่ใช้บรรเลง กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอ มีหลักในการปฏิบัติที่ร่วมกันทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่ 1) หน้าทับไม้กลอง ใช้หน้าทับเพลงเสมอที่เป็นแบบแผนกำหนดให้ผู้รำต้องปฏิบัติตาม 2) ท่ารำ เพลงเสมอมีท่ารำที่ถูกกำหนดไว้อย่างเป็นแบบแผน การปฏิบัติท่ารำตามจารีตของนาฏยศิลป์โขนคือปฏิบัติท่าจากท่ามือต่ำไปหาท่ามือสูง ซึ่งท่ารำนั้นมีความเชื่อมโยงมาจากกระบวนท่ารำแม่ยักษ์ 3) การเคลื่อนที่และทิศทางในการรำ เป็นอีกหลักสำคัญของเพลงหน้าพาทย์เสมอซึ่งมีการเคลื่อนที่ใน 2 ลักษณะได้แก่ เคลื่อนที่ไปด้านหน้าตรงและเคลื่อนที่แบบใช้หน้าเสี้ยวหรือหน้าข้าง โดยใช้วิธีการก้าวเท้าไปด้านหน้า การก้าวไขว้ การก้าวข้าง แต่มีจุดมุ่งหมายของการเคลื่อนที่ไปในทิศทางด้านหน้า การปฏิบัติท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลุ่มเพลงเสมอมีกรอบจารีตในการปฏิบัติท่ารำเพลงหน้าพาทย์ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนท่ารำหรือรำผิดในเพลงหน้าพาทย์ที่เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเพลงหน้าพาทย์เสมอเป็นเพลงหน้าพาทย์พื้นฐานที่สามารถพัฒนาไปสู่เพลงหน้าพาทย์ในชั้นที่สูงขึ้นได้ งานวิจัยฉบับนี้จึงเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาเพลงหน้าพาทย์เสมอที่ใช้ในการแสดงละคร เช่น เพลงเสมอตามสัญชาติ หรือเพลงหน้าพาทย์ประเภทอื่นๆต่อไป
Other Abstract: This research studies the historical background and importances of the Naphat Samer songs including the compositions of the dances accompanied these songs leading to the analysis of the dance movements and their principles as practiced and held among the personnel of the College of Dramatic Art and Music Division of the Fine Art Department, Ministry of Culture. Data were gathered from academic documents and from dept-interviews of the experienced teachers and professional dancers, as well as from researcher direct experiences with the dances of the Naphat Samer songs. The study found that the Naphat Samer songs were originated since Ayutthaya period. The term “samer” derives form a Khmer term “ta-mer” meaning “to walk” which is also the meaning of samer songs for they are used to accompanied the short-distanced moves of dramatic characters. The group of the Naphat Samer of the demon roles consists of 7 melodic songs namely: 1) samer, 2) samer marn, 3) samer sam la, 4) samer kam samut, 5) samer tan, 6) pram kao, and 7) pram ook. The dances accompanied these songs in the Fine Art Department were handed down from Ayuthaya period and inherited by the dancers of the Royal Dramatic Division during the reigns of King Rama 5, King Rama 6, and King Rama 7, and finally preserved among the artists of the Fine Art Department today. The dances of these songs are characterized by the tradition of the dances, the script for each performance, the dancer himself, the prop, the drum beats, and the melody. The dance of all seven Naphat Samer songs shares 3 common characteristics. First, the beating of the drum is specific to samer songs. Secondly, the dance movements always begins with lower hand postitions to higher hand positions as in the standard movements of the demon roles. Third, the forward moving could be full-facing or side-facing with direct forward steps or twisted steps or sided steps. The tradition requires no alternation of adaptation for all Naphat song dances. The Naphat Samer songs are basic naphat songs that could be developed to the more sophisticated naphat songs. Therefore, this study may pave the way for future study of other Samer songs such as the family of ‘nationalistic’ Samer songs as well as other songs in Naphat family.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16246
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.458
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.458
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kerdsiri_No.pdf11.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.