Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16825
Title: | ฝู่หลู : เครื่องดนตรีชาวเขาเผ่าลีซู อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Fooloo : musical instrument of the Lisu hilltribes in Mae Can district of Chiang Rai province |
Authors: | ธัญญะ สายหมี |
Advisors: | พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornprapit.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ชาวเขา -- ความเป็นอยู่และประเพณี เครื่องดนตรี -- ไทย -- เชียงราย ลีซอ ฝู่หลู่ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชน และบริบท โดยรอบของสังคมลีซู ศึกษาถึงวิธีการบรรเลงฝู่หลู โอกาสที่ใช้และวิเคราะห์บทเพลงของฝู่หลู หมู่บ้านปางสาอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย.โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บ รวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์นักดนตรี สมาชิกภายในหมู่บ้าน ปางสา อำเภอแม่จัน จังหวัด เชียงราย ระหว่างเดือน ตุลาคม 2551 ถึงเดือน มีนาคม 2553 ผลจากการศึกษาพบว่าชาวลีซูที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านปางสาแห่งนี้ อพยพมาเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยการนำของนายเล่าอ้ายเบียผะ เนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การเพราะปลูก จึงทำ ให้มีชาวลีซูอื่นๆ อพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ฝู่หลู่เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่คู่กับชาวลีซูมาช้านาน ประวัติและที่มานั้นไม่ทราบแน่ชัด ชาวเขาเผ่าลีซูใช้บรรเลงเพื่อตอบสนองความต้องการในสังคมเช่น ใช้เล่นประกอบการเต้นรำ ในพิธีขึ้นปีใหม่ของชาวลีซู มักพบว่าจะเล่นกันในกลุ่มผู้ชายเพียงเท่านั้น ปัจจุบันในหมู่บ้าน ปางสา มีแต่นักดนตรีที่สามารถเล่นฝู่หลูได้เพียงอย่างเดียว ไม่มีช่างสร้างเครื่องดนตรีชนิดนี้ใน หมู่บ้านปางสา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ฝู่หลูที่นิยมใช้เล่นในหมู่ชาวลีซูคือ ป่าลิฝู่หลู มีเสียงสูง และเล่นง่ายกว่าฝู่หลูชนิดอื่นๆ ฝู่หลูประกอบด้วย น้ำเต้า ท่อเสียงของฝู่หลูทำมาจากไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นปล้องทาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกไม้ไผ่ชนิดนี้ว่า “ไม้เฮียะ” ลิ้นของฝู่หลู และชันโรง ท่อเสียงของฝู่หลูมีทั้งหมด 5 ท่อคือ ท่ออี่ผ่า, ท่ออี่ม่า, ท่ออี่สะสะ, ท่ออี่ลิม่า และท่อ อี่ลิลิ จากการวิเคราะห์บทเพลงของฝู่หลูในหมู่บ้านปางสา มีทั้งหมด 5 เพลง แต่ละเพลงมี ความสนุกสนาน เพราะฝู่หลูเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำ มีการบรรเลงซ้ำ ไปซ้ำมาเพื่อให้เพลงยาวขึ้น พบว่ามีกระสวนทำนองเพลงสลับฝันปลามากที่สุด ขั้นคู่เสียงที่ใช้ คือ คู่ 1, คู่ 2, คู่ 3, คู่ 4, คู่ 5, คู่ 6 และ คู่ 7 |
Other Abstract: | This objectives of this research are to study historical backgrounds and social contexts of Lisu hill tribe community in Pang Sa Village, Mae Chan District, Chiang Rai Province, Fooloo techinques and its use, as well as to analyze Fooloo songs. The qualitative methods were employed the collection of information and conduct of interviews with Lisu musicians and natives of Pang Sa Village, Mae Chan District, Chiang Rai Province, during the months of October 2008 and March 2010. From the research, it is known that Lisu residents of Pang Sa Village settled down at the present site in 1961 under the direction of Mr. Lao Ai Bia Pha, because of its suitability for agriculture. Through the course of time, there has been a constant influx of other Lisu hill tribesmen to Pang Sa Village. Fooloo is a musical instrument of Lisu hill tribe. Its history and origin is unknown. Lisu hill tribesmen play it for entertainment, such as to accompany the New Year Day dance. Only men can play it. At present, there are only Fooloo musicians but there is no Fooloo maker in Pang Sa Village. The most popular Fooloo played among Lisu is called Pali Fooloo. This high-pitched Fooloo is also the easiest one to play. Fooloo is consisted of a sound box and sound tubes which is made of a type of round-shaped bamboo found in the north and northeastern part of and Thailand. There are five Fooloo sound tubes and each one is called Ipa, Ima, Isasa, Ilima and Ilili respecfively. The analysis shows that there are five Fooloo songs in Pang Sa Village. Each of them is rhythmic in nature because Fooloo is primarily used to accompany the dance. Each song is normally played in repetition to increase the musical length. The prevalent music pattern is zigzagging and intervals used are the 1st, 2nd, 3rd, 4th, 6th and 7th |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16825 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1479 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1479 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanya_sa.pdf | 3.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.