Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1749
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เมธา เสรีธนาวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-14T13:23:20Z | - |
dc.date.available | 2006-08-14T13:23:20Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9749940830 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1749 | - |
dc.description.abstract | ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ ไตเติ้ลรายการ ตัวอย่างรายการอินเตอร์ลูด และท้ายรายการ เป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ชมได้ทราบถึงลักษณะเฉพาะ ลีลาและแวดล้อมของรายการ อันนำไปสู่การรับชมรายการนั้นได้อย่างมีอรรถรส ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์จะทำให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงรายการที่กำลังชมว่าเกี่ยวกับอะไร และมีลักษณะอย่างไร วัตถุประสงค์ในการทำงานวิจัยเรื่องนี้ จึงประกอบด้วย 1. เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาการผลิตส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ 2. เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐานในด้านการผลิตและการสร้างสรรค์ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์อันได้แก่ ไตเติ้ล ตัวอย่างรายการ อินเตอร์ลูด และท้ายรายการ ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะที่หลากหลายที่ผสมผสานกันขึ้นเพื่อแสดงถึงความเป็นรายการโทรทัศน์แต่ละรายการ ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์แต่ละส่วนมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันได้แก่ ไตเติ้ลรายการ คือ ส่วนประกอบรายการโทรทัศนืที่ทำหน้าที่บอกชื่อรายการ อยู่ในส่วนแรกสุดก่อนนำเสนอเนื้อหารายการ ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) รูปแบบการนำเสนอไตเติ้ลรายการ แต่ละไตเติ้ลรายการปรากฏรูปแบบการนำเสนอหลายรูปแบบ แต่จะมีรูปแบบที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ การใช้ชื่อรายการ การใช้สัญลักษณ์ การนำเสนอบุคคล การใช้ภาพแสดงเนื้อหา การสร้างโครงเรื่อง และการใช้ภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกับรายการ 2) ลักษณะของภาพไตเติ้ลรายการ มีการสร้างสรรค์ภาพโดยใช้ภารที่ถ่ายจริง มักเป็นไตเติ้ลรายการแนวสาระ และภาพที่เกิดจากการสร้างโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักเป็นภาพไตเติ้ลรายการแนวจินตคดี รวมถึงการสร้างสรรค์ชื่อรายการก็นิยมสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ภาพที่ปรากฏมักเป็นที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อเป็นไตเติ้ลรายการโดยเฉพาะ และมักเป็นภาพประเภท simple shot ภาพในไตเติ้ลรายการมักลำดับเข้าไว้ด้วยการซ้อนภาพ โดยมีองค์ประกอบของการร้อยเรียงภาพด้วยการให้ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเงื่อนไขที่พบมากที่สุด 3)ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง ไตเติ้ลรายการมีการใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนสาร อันได้แก่ พื้นที่ เส้น รูปร่าง ความเข้มสี สี การเคลื่อนไหว และจังหวะ โดยเป็นการเลือกใช้เพียงบางองค์ประกอบเพื่อสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นแก่ภาพ แต่ไม่สามารถทำให้โครงสร้างทางทัศนสารของไตเติ้ลรายการมีความโดดเด่นขึ้นมาได้ เนื่องจากไม่ได้มีการกำหนดโครงสร้างทัศนสารให้มีความขัดแย้งหรือความกลมกลืน เพื่อสร้างแรงดึงดูดใจในการชมแต่อย่างใด 4) ตัวอักษรชื่อรายการ มีการใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชนิดของตัวอักษรชื่อรายการมักเป็นแบบหัวตัดหรือไม่มีหัวในภาษาไทย ส่วนอักษรภาษาอังกฤษมักใช้แบบ san serif ขนาดตัวอักษรที่นิยมใช้คือ หนึ่งในห้าถึงหนึ่งในหกของความสูงของจอโทรทัศน์ ตัวอักษรรายการมักใช้สีพื้นเพียงสีเดียว และมีการใช้ขอบตัวอักษรชื่อรายการและความหนาของตัวอักษรชื่อรายการ เพื่อทำให้ดูมีมิติแตกต่างจากภาพพื้นหลัง ซึ่งมักเป็นภาพไตเติ้ลรายการ ตำแหน่งของชื่อรายการมักอยู่ตรงกลางจอโทรทัศน์ ตัวอักษรชื่อรายการส่วนใหญ่มีคุณสมบัติด้านความประจักษภาพและมีความอ่านง่ายสูง และมักปรากฏขึ้นบนภาพไตเติ้ลรายการด้วยการตัดภาพ 5) ลำดับการนำเสนอไตเติ้ลรายการ มีโครงสร้าง ดงนี้ สถานี-ร่วมกับ-บริษัทผู้ผลิตรายการ/สถาบัน-ผู้สนับสนุนรายการ-เสนอ-ชื่อรายการ-ผู้ดำเนินรายการ/พิธีกร/นักแสดง-ทีมงาน ทั้งนี้มีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้งตามประเภทของรายการแตกต่างกันไป 7) ความยาวของไตเติ้ลรายการ ไตเติ้ลรายการมักมีความยาว 10-60 วินามี ขึ้นอยู่กับความยาวของรายการ 8) ลีลาของไตเติ้ลรายการ มีลักษณะดังนี้ ความสนุกสนานร่าเริง ความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง ความตื่นเต้นร้อนแรง ความเคร่งขรึมดุดัน ความทันสมัย ความเรียบง่าย เชย ล้าสมัย ความเป็นไทย และความเป็นชนบท ตัวอย่างรายการ คือ ส่วนประกอบรายาการโทรทัศน์ที่เสนอตัวอย่างเนื้อหาของรายการที่จะออกอากาศในครั้งนั้น ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะด้านต่าง ๆดังนี้ 1) ลักษณะของภาพตัวอย่างรายการ เป็นการนำภาพจากเนื้อหารายการมาใส่กรอบหรือทำให้ดูแตกต่าง โดยเป็นภาพที่สื่อได้ถึงเนื้อหาที่จะได้ชมต่อไป และมีภาพผู้สนับสนุนรายการ มักใช้การตัดภาพในการลำดับภาพ 2) ตัวอักษรในตัวอย่างรายการ มักเป็นแบบหัวตัดในภาษาไทย และแบบ san serif ในภาษาอังกฤษ และมักเป็นคำที่สื่อถึงส่งที่จะได้ชมต่อไป 3) การใช้เสียงในตัวอย่างรายการ มักใช้คำพูดเพื่อให้ข้อมูลเป็นสำคัญ อินเตอร์ลูด คือ ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ที่อยู่ระหว่างเนื้อหารายการและโฆษณาเพื่อบอกผู้ชมว่าเป็นรายการอะไรบ้าง ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) รูปแบบการนำเสนออินเตอร์ลูด มีหลายวิธี ได้แก่ การใช้ไตเติ้ลในส่วนชื่อรายการในอินเตอร์ลูด การใช้ชื่อรายการหรือโลก็รายการสร้างสรรค์อินเตอร์ลูด การสร้างสรรค์ลักษณะชื่อรายการใหม่ การใช้ชื่อช่วงเป็นอินเตอร์ลูด และการใช้ภาพผู้สนับสนุนรายการ 2)ตัวอักษในอินเตอร์ลูด ได้แก่ ตัวอักษรชื่อรายการ และตัวอักษรชื่อช่วง ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่แตกต่าง จากตัวอักษระชื่อรายการในไตเติ้ลรายการ และตัวอักษรประกอบอินเตอร์ลูด มีลักษณะเดียวกับตัวอักษรในตัวอย่างรายการ แต่มีการใช้คำที่แตกต่างออกไป 3) ลำดับการนำเสนอในอินเตอร์ลูด มีโครงสร้างดังนี้ ผู้สนับสนุนรายการ (-ภาพช่วงต่อไป) -ชื่อรายการ-เกร็ด(-โฆษณา-)เกร็ด-ชื่อรายการ/ชื่อช่วง-ผู้สนับสนุนรายการ (-ชื่อช่วง) ซึ่งมีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้างตามประเภทของรายการแตกต่างกันไป 4) การใช้เสียงในอินเตอร์ลูด ประเภทของเสียงในอินเตอร์สูดมีการใช้ดนตรีมากที่สุด ท้ายรายการ คือ ส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ที่อยู่ลำดับท้ายสุดของรายการ มีหน้าที่ขอบคุณผู้มีส่วนในการผลิตรายการ ประกอบขึ้นจากคุณลักษณะด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) รูปแบบการนำเสนอท้ายรายการมี 3 วิธี ได้แก่ การเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหารายการหรือการตัดภาพเข้ามาหลังจากเนื้อหารายการ การสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสีและแสง และการลดขนาดของภาพ 2) ลักษณะของภาพท้ายรายการ มีการใช้ภาพที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นท้ายรายการ ได้แก่ ภาพในรายการ ภาพจากไตเติ้ลรายการหรืออินเตอร์ลูด ภาพผู้สนับสนุนรายการ และภาพโลโก้บริษัทผู้ผลิตรายการ 3) ลำดับการนำเสนอในท้ายรายการ มีโครงสร้างดังนี้ ภาพตอนต่อไป -ผู้สนับสนุนรายการ (-ทีมงาน)-บริษัทผู้ผลิตรายการ ซึ่งมีการลดหรือเพิ่มบางโครงสร้างตามประเภทของรายการแตกต่างกันออกไป 4) การใช้เสียงในท้ายรายการ มีการใช้เสียงเช่นเดียวกับส่วนประกอบรายการโทรทัศน์อื่น ๆ ได้แก่ ดนตรี เพลง คำพูด และเสียงประกอบ โดยที่ดนตรีและเพลงมีลักษณะที่คล้ายกับไตเติ้ลรายการ ส่วนคำพูดเป็นคำพูดสนับสนุนรายการ คำพูดให้ข้อคิดหรือคำแนะนำ และคำพูดเนื้อหาในตอนต่อไป การศึกษายังพบอีกว่า ผู้ผลิตรายการไม่ได้ให้ความสำคัญแก่หน้าที่ของส่วนประกอบรายการโทรทัศน์เท่าไรนัก เนื่องจากส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ไม่ได้แสดงถึงแนวคิดของรายการโทรทัศน์ได้อย่างชัดเจน แต่กลับเป็นพื้นที่สำหรับโฆษณาผู้สนับสนุนรายการ และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถสร้างความน่าสนใจใคร่ติดตามให้แก่ผู้ชมได้ ดังจะเห็นได้จาก มีการเลือกใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางทัศนสารบางประการในบางรายการสำหรับสร้างสรรค์ ส่วนประกอบรายการเท่านั้น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความน่าสนใจแต่อย่างใด นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตส่วนประกอบรายการ คือ ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านเวลา และปัจจัยด้านเทคโนโลยี ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการพัฒนาการผลิตส่วนประกอบรายการ | en |
dc.description.abstractalternative | The four main significant components for television program are title, menu, interlude and end credit. All of them are contributed to the program's characteristics, style and ambience and leading to effective viewing. The audience will learn through these elements of how that particular program is all about and how it shaping up our expectation. The purposes of the research are: 1. To be used as supporting for "Program Components Production" course. 2. To gather basic knowledge in program components production and creation. The research found that: Program components-title, menu, interlude and credit are created by various characteristics to identify the television program. Each program component has its main characteristics as follow: Titile, the first part of a program which gives name of the program to the audience, has the following characteristics: 1) FORM-The form consists of Program's Name, Symbol, Person, Visual Narration, Plot and unrelated shots to the program. A few forms are found in each titlebut only one is dominant. 2) SHOT- Shots in a program component are both video shots used in informative program and computer graphic shots used in imaginative program as well as in creating the program title. Simple shots taken for title and mix edited are mostly used to gather more information. 3) VISUAL STORY- Visual elements-space, line, shape, tone, color, movement and rhythm are chosen for contrasting effect for the shots. However visual 4) FONT - San serif fonts are mostly used in both Thai and English. The size of the font is about 1/5-1/6 of the screen's height. Only one color with edge and bold type are used to distinguish from the background. The position of the font is normally center. High legibility and readability font are shown on screen by cut edit. 5) ORDER-Title order is the following: station-with-production company/organization-sponsor-present-program name-host/master of ceremony/cast-crew. The order can vary with program format. 6) SOUND-Music is mixed to perfect the title. Speech intitle is used to gives information, advertise, introduce the guests and the host, greet the audience and provide the content. Songs are composed to introduce the title, the program and the content. 7) LENGTH-Title length mostly depends on the program's total length which can be ranged from 10-60 seconds. 8) STYLE - Leading style should be comprised of the following elements: fun, dynamic, excited, formal, modern, out of date, Thai, rural. Menu represents the program by showing some parts of the content which has the following characteristics: 1)SHOT-Shots are selective from the content. They can be distinguished by using framing or editing cut to briefly show the content and sponsors. 2) FONT-San serif fonts are mostly used in both Thai and English. The words show the "to be shown" meaning. 3) SOUND-Speech in menu is to give an information. Interlude, the program component between the content and the commercials expresses the program's name. Interlude has the following characteristics: 1) FORM-There are various types of interlude forms, for instance, part of a title, program name or logo, creating the different program title style, episode name and sponsor. 2) FONT-The program name and the episode name are the same characteristics as the title font. Another words shown "to be continued" meaning are the same character as menu. 3- ORDER- Interlude order is the following: sponsor (-the next shot) -title-tip(-commercials) tip-program-episode name-sponsor(-episode name). The order may vary with program format. 4) SOUND-Most of the sound in interlude is music. End credit. A final program component acknowledges all of the production team including sponsors. It has the following characteristics: 1) FORM-Three forms of end credit are being part of program content or presenting immediately after program's content; changing the color and light; and reducing the frame. 2) SHOT-Shots are created by parts of program's content, title or interlude, sponsor and production company logo. 3) ORDER - End credit order is the following: next time program shot-sponsor (-crew) - production company which varies with program format. 4) SOUND- Music and song are used the same way as title. Speech in end credit is used to advertise, suggest an idea and from the next time program. The study also found that the producer often neglected the program components since they did not represent the program concept and have become areas for commercial instead. In addition, they cannot hold the audience's interest because the lack of visual structure. Finally, the program components production is also controlled by budget, time and technology factor. These factors are considered key to the development of program components production. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนเพื่อการวิจัย คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.format.extent | 7726434 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1473 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | รายการโทรทัศน์ | en |
dc.subject | โทรทัศน์--การผลิตและการกำกับรายการ | en |
dc.title | การวิเคราะห์รูปแบบของส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Metha.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.1473 | - |
Appears in Collections: | Comm - Research Reports |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.