Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19071
Title: | ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง จังหวัดสกลนคร |
Other Titles: | So Thang Bang dance, Sakonnakhon province |
Authors: | นัยน์ปพร ชุติภาดา |
Advisors: | วิชชุตา วุธาทิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vijjuta@yahoo.com |
Subjects: | การรำ -- ไทย -- สกลนคร โส้ -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาความเป็นมาของการฟ้อนโส้ทั่งบั้งวิเคราะห์กระบวนท่าฟ้อนและองค์ประกอบของการฟ้อนโส้ทั่งบั้งรวมทั้งศึกษาปัจจัยและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาฟ้อนโส้ทั่งบั้ง โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร ทำการสัมภาษณ์ และศึกษาฝึกปฏิบัติท่ารำด้วยตัวเอง จากการศึกษาพบว่า ฟ้อนโส้ทั่งบั้ง ใน พ.ศ.2521 ได้มีการนำเอาการเล่นทั่งบั้งในพิธีกรรมเยา พิธีเจียสะลา พิธีแซงสนาม ท่าฟ้อนรำของหมอเยาและขั้นตอนในการประกอบพิธีมาคิดประดิษฐ์เป็นท่าฟ้อนรำ โดยนายสุวัฒน์ แสงสุทธิเศรษฐ นายอำเภอกุสุมาลย์ เป็นผู้ริเริ่มและสนับสนุนให้มีการคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น โดยมอบหมายให้ครูและข้าราชการกองการศึกษาธิการช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น ซึ่งมีท่ารำด้วยกันทั้งหมด 7 ท่า คือ 1. ท่าเชิญผีฟ้า 2. ท่าส่งผีฟ้า 3. ท่าทั่งบั้ง 4. ท่าถวายแถน 5. ท่าถวายดอกไม้ 6. ท่าเกี่ยวแขนรำ 7. ท่าเลาะตูบ ต่อมาในปี พ.ศ.2525 ได้เรียบเรียงท่ารำขึ้นใหม่โดยศึกษาจากขั้นตอนในการประกอบพิธีเยา มีการนำไม้ไผ่เข้ามาเป็นอุปกรณ์ประกอบในการฟ้อนและประดิษฐ์ท่ารำให้มีความสอดคล้องกับการใช้ไม้ไผ่ ในดนตรีจังหวะเร็ว ซึ่งการฟ้อนในระยะแรกจะใช้ดนตรีจังหวะช้าประกอบการฟ้อนโส้ทั่งบั้ง การแสดงจะเริ่มด้วยหมอเยาจุดธูปเทียนบวงสรวงวิญญาณ จากนั้นล่ามจะลำเชิญผีฟ้าให้มาเข้าทรงร่างของหมอเยาในขณะเดียวกันหมอแคนก็จะเป่าแคนคลอไปกับเสียงขับลำของล่าม เมื่อผีฟ้าเข้าทรงหมอเยาแล้ว หมอเยาจะเริ่มการเสี่ยงทายด้วย ไข่ เงินเหรียญ ง้าว ดาบ ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ จะขึ้นอยู่กับหมอเยาว่าจะใช้วัสดุสิ่งใด โดยล่ามจะเป็นผู้ซักถามหมอเยาเกี่ยวกับสภาพดิน ฟ้า อากาศ ผลผลิตในการปลูกพืชไร่ เมื่อทำนายเสร็จแล้วล่าม หมอเยา นางเทียมและผู้ร่วมพิธีจะลุกขึ้นฟ้อนไปรอบๆ คาย 3 รอบ เมื่อฟ้อนเสร็จแล้วล่าม หมอเยา นางเทียม ผู้ร่วมพิธีจะนั่งลง แล้วหมอเยาจะดื่มเหล้าอุ (เหล้าไห) แล้วจะก้มลงกราบ เป็นอันเสร็จพิธี จากนั้นคนตีกลองจะเริ่มรัวกลองเป็นสัญญาณเพื่อบอกให้นักแสดงเตรียมตัวนักแสดงก็จะก้มลงกราบ 1 ครั้ง เมื่อดนตรีเริ่มบรรเลงนักแสดงจะเริ่มฟ้อนรำ ในขณะที่นักดนตรีบรรเลงล่ามจะขับลำเป็นภาษาโส้ พร้อมกับทิ้งจังหวะให้พวกทั่งบั้งเปล่งเสียง เออเลอ เออเลอะ เออเลอ เออเลอะ จนกระทั่งจบกระบวนท่าฟ้อน แต่ถ้าเป็นการแสดงเพื่อการต้อนรับจะไม่มีพิธีเยาเพราะชาวโส้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพิธีเกี่ยวกับผี วิญญาณของบรรพบุรุษจะมาทำเล่นไม่ได้โดยเด็ดขาด |
Other Abstract: | This thesis aims to study the background and the impact of the factors and device of the So Thang Bang Dance as well as to analyze its posture and composition. The sources of the study are gathered from academic documents, interviews of the concerned and the researcher’s practice of the dance. The result of the study reveals that in 1978, So Thang Bang Dance originated from Yoa, Jeasala Sang Sanam Rites and was used in ceremonies. And, it was Suwat Sangsuthisert, the district chief officer of Kusumal who was responsible for the development of the said dance. With the help of the teachers and some government officials from the Ministry of Education, Mr. Sangsuthisert successfully created the 7 postures of the dance; namely; Chern Phi Fa, Song Phi Fa, Thang Bang,Tawai Than, Tawai Dok Mai, Keaw Khan Rum and Lo Toob. In 1982, bamboo became a popular dance’s prop. At first the rhythm was slow and gradually became fast. The performance began with incense and candles that were lighted by a Mo Yao, followed by a singing translator who invited Phi Fa to stay with the Mo Yao (in order to communicate with the Spirit). While the translator was singing, Mo Kan was also played (a musical instrument). While Phi Fa stayed with the Mo Yao, a lot of things were used like eggs, coins and halberd or sword depending on the Mo Yao’s selection. The translator took the role to ask the Mo Yao questions concerning weather and crop productivity. After finishing the prediction, the translator, the Mo Yao and Nang Tiam started to dance 3 rounds around Kai (an offering) then sit around it. After that, the Mo Yao drank lao u (a traditional alcohol in the jar) and paid homage rite which assumed as the finishing of the rite. Then, a drummer started to drum as a signal for dancers’ preparation to dance and after the dancers paid homage rite, they started to perform with music with the translator singing a song in its dialect and Tang Bang was played and the sound “ Ur Ler” “Ur Lur” “Ur Ler” “Ur Lur” was created along with the song until the end of the performance. In case of welcome performance, Yao rite will be deducted since it is assumed as a holy rite for the tribe. It is a ceremony concerning the spirit and ancestors’ spirit thus making the performance a strictly prohibited. At present, So Thang Bang Dance is performed to entertain and welcome tourists and to pay homage to Phra That Cherng Chum at the end of the Buddhist Lent’s ceremony. Moreover, the dance of So Thang Bang plays an important role to create social solidarity. In addition, academic institutions have trained descendants to dance So Thang Bang Dance for awareness and cultural preservation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19071 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.592 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.592 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naipapron_ch.pdf | 18.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.