Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21067
Title: หลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์สำหรับกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่
Other Titles: Graphic design principles and elements for modern Thai poetry
Authors: สกลชนก เผื่อนพงษ์
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@Chula.ac.th
Subjects: กวีนิพนธ์ไทย
การออกแบบกราฟิก
Thai poetry
Graphic design
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. หาหลักการในการจัดแบ่งประเภทของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ 2. หาบุคลิกภาพของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่แต่ละประเภท 3. หาหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่แต่ละประเภท 4. นำหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ ของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่แต่ละประเภทไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบ วิธีการวิจัย ใช้แบบสอบถาม 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม 5 ท่าน เพื่อหาหลักการที่เหมาะสมในการจัดประเภทกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ แบบสอบถามในชุดที่ 2 สำหรับสอบถามผู้เชี่ยวชาญในด้านออกแบบ 5 ท่าน เพื่อหาว่าหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์แบบใดที่สอดคล้องกับบุคลิกภาพของกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่ แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด โดยใช้เกณฑ์การวัดคะแนนแบบการหาค่าความถี่ของจำนวนครั้งในการเลือก จากทุกกลุ่มตัวอย่างและจากทุกผู้เชี่ยวชาญรวมกัน จากผลการวิจัยพบว่า หลักการที่เหมาะสมในการจัดประเภทกวีนิพนธ์ไทยสมัยใหม่คือ แนวคิดทางวรรณกรรม ซึ่งแบ่งได้เป็น 7 แนวคิด โดยมีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมแต่ละประเภทแนวคิด ดังนี้ 1. แนวคิดแบบอุดมคตินิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้การแทนค่าและ/หรือการแทนที่ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร ทีเอช จักรเพชร ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร อีเอซี ทอมไลท์ ภาพประกอบใช้ภาพประกอบแบบปะติด ภาพถ่ายใช้แบบสมมาตร 2. แนวคิดแบบจินตนิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้การเพิ่มตัวอักษรพาดหัว ใช้ตัวอักษรดินแดน ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร พีเอสแอล ดิสเพลย์ ภาพประกอบใช้ภาพประกอบระบายสี และ/หรือภาพประกอบจากคอมพิวเตอร์ ภาพถ่ายใช้แบบไฮคีย์และโลว์คีย์ และ/หรือ แบบการใช้สี 3. แนวคิดแบบธรรมชาตินิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้สภาวะคุณลักษณะ และ/หรือ การเลียนแบบอย่างสมจริง ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร โลมา ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร ดีบี ฟองน้ำ ภาพประกอบใช้ภาพประกอบจากแอร์บรัช ภาพถ่าย ใช้แบบเก็บรายละเอียด 4. แนวคิดแบบสัจนิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้การเลียนแบบอย่างสมจริง หรือ/และการเป็นไปตามตัวอักษร ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร ดีบี เอราวัณ ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร เอสอาร์ ฟ้าใหม่ ภาพประกอบใช้ภาพประกอบจากแม่พิมพ์ ภาพถ่ายใช้แบบเก็บรายละเอียด 5. แนวคิดแบบสัญลักษณ์นิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้การแทนค่าและ/หรือ ความกำกวมของภาษาภาพ ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร พีเอสแอล ดิสเพลย์ ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร ฟ้อนเล็บ ภาพประกอบ ใช้ภาพประกอบแบบปะติด และ/หรือภาพประกอบจากคอมพิวเตอร์ ภาพถ่ายใช้แบบดัดให้งอ และ/หรือ แบบการใช้สี 6. แนวคิดแบบสังคมนิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้แบบผู้ดูมีส่วนร่วมหรือ/และ การปฏิเสธ ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร ดินแดน ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร ดีบี โซดา ภาพประกอบใช้ภาพประกอบแบบปะติด ภาพถ่ายใช้แบบการใช้สี 7. แนวคิดแบบอัตถิภาวะนิยม มีหลักการและองค์ประกอบทางเรขศิลป์ที่เหมาะสมคือ เทคนิควิธีคิดแบบกลไกที่ใช้ออกแบบ ใช้การปฏิเสธ ตัวอักษรพาดหัวใช้ตัวอักษร พีเอสแอล ดิสเพลย์ ตัวอักษรเนื้อความใช้ตัวอักษร ฟ้อนเล็บ ภาพประกอบใช้ภาพประกอบลายเส้น ภาพถ่ายใช้แบบไฮคีย์และโลว์คีย์ และ/หรือ แบบพื้นผิว
Other Abstract: To 1. get principles in classification of Modern Thai Poetry 2. get the personality in each classification of Modern Thai Poetry 3. get the graphic design principles and elements suited with each classification of Modern Thai Poetry 4. get the graphic design principles and elements suited with each classification of Modern Thai Poetry to be applied in Design The 2 sets of questionnaire were used in this research. 1st set used for 5 experts in Literature in order to get the principles suited in classification of Modern Thai Poetry, and 2nd set used for 5 experts in Design in order to get the graphic design principles and elements according with personality of Modern Thai Poetry. Both of questionnaires evaluated by frequency of selection by all of samplings and experts. From the research, we found that the principles that suited with the classification of Modern Thai Poetry is the idea of Literature which classified in 7 types 1. Idealism : the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Substitute by using font TH Chakra Petch for Heading, EAC Tom Light for Text, using Collage Illustration, using Symmetry for photo 2. Romanticism : the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Addition by using font Dindan for Heading, PSL Display for Text, using Painting Illustration and/or Computer Graphic Illustration, using High Key and Low Key for photo or using color. 3. Naturalism: the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Quality and/or Trompe l’oeil by using font Loma for Heading, DB Fongnam for Text, using airbrush Illustration, using Detail for photo. 4. Realism: the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Trompe l’oeil and/or Talking It Literally by using font DB Erawan for Heading, SR FahMai for Text, using Print-Making Illustration, using Detail for photo 5. Symbolism: the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Substitute and/or Ambiquity by using font PSL Display for Heading, Fonleb for Text, using Collage Illustration and/or Computer Graphic Illustration, using Bending to bend and Color for photo 6. Socialism: the graphic design principles and elements suited is Witty Thinking Technique of Interactive Graphic and/or Rejection by using font Dindan for Heading, DB Soda for Text, using Collage Illustration, using Color for photo 7. Existentialism: the graphic design principles and elements suited is Technique of Rejection by using font PSL Display for Heading, Fonleb for Text, using Drawing Illustration, using High Key and Low Key and/or texture for photo.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21067
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.615
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.615
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sakolchanok_pu.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.