Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนันท์ พงษ์สามารถ-
dc.contributor.authorสุกัญญา เจษฎานนท์-
dc.contributor.authorนรานินทร์ มารคแมน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาชีวเคมี-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.contributor.otherไม่มีข้อมูล-
dc.date.accessioned2006-08-23T08:38:07Z-
dc.date.available2006-08-23T08:38:07Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2149-
dc.description.abstractการศึกษาความปลอดภัยของการบริโภคสารคล้ายเพคตินสกัดจากเปลือกทุเรียนในสัตว์ทดลองหนู (mice) โดยการป้อนให้สัตว์ทดลองกินสารสกัดเปลือกทุเรียนในรูปของสารสกัด crude fraction (F I) และสารสกัด partially purify fraction (F II) และให้กินอาหารและน้ำตลอดเวลาตามปกติ ผลการทดสอบความปลอดภัยเบื้องต้นโดยป้อนสารสกัดให้กลุ่มสัตว์ทดลองกินทุกวันในขนาดสูงมากติดต่อกันเป็นเวลานาน 10 วัน พบว่าอัตราการเพิ่มน้ำหนักของสัตว์ทดลองในกลุ่มที่ป้อน F I ขนาด 0.125 g/kg/d กลุ่มที่ป้อน F III ขนาด 0.125 g/kg/d 0.25 g/kg/d และ 0.5 g/kg/d กับกลุ่มที่ป้อน pectin ขนาด 0.125 g/kg/d และ 0.5 g/kg/d ตลอดเวลา 10 วัน มีการเพิ่มของน้ำหนักตัวได้ดีเมื่อเทียบกับกลุ่ม control ลักษณะทั่วไปของอวัยวะภายในของสัตว์ทดลองเป็นปกติจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่า และขนาดน้ำหนักของอวัยวะภายในไม่แตกต่างไปจากกลุ่ม control อย่างเห็นได้ชัด การทดลองโดยให้สัตว์ทดลองหนู (mice) เพศผู้ มีน้ำหนักเริ่มต้น 20-25 กรัม กลุ่มละ 15 ตัว กินสารสกัดเปลือกทุเรียนในขนาดสูงทุกวันติดต่อกันนาน 60 วัน เฝ้าดูผลของการเพิ่มน้ำหนักของสัตว์ทดลองพบว่ากลุ่มสัตว์ทดลองที่ให้ F II ขนาด 0.5 g/kg/d ในช่วง 15-20 วันแรกของการทดลองมีการเพิ่มน้ำหนักไม่แตกต่างจากกลุ่ม control และกลุ่มที่ให้กิน pectin ขนาด 0.25 g/kg/d แต่หลังจากนั้นจนถึงวันที่ 60 ของการทดลอง พบว่ามีการเพิ่มของน้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ในขณะที่กลุ่มที่ให้ F I และกลุ่มที่ให้ F II ขนาด 0.25 g/kg/d พบมีอัตราการเพิ่มของน้ำหนักได้ดีเมื่อเทียบกับกลุ่ม control และกลุ่มที่ให้ pection ตลอดเวลา 60 วันของการทดลองไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายในจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าและไม่มีความแตกต่างของขนาดน้ำหนักของอวัยวะภายในพวกหัวใจ ปอด และไต ขณะที่ผลของน้ำหนักของตับในกลุ่มที่ให้ F II ขนาด 0.5 g/kg/d มีน้ำหนักเฉลี่ยต่ำเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่ม control กลุ่มที่ให้ pectin กลุ่มที่ให้ F II ขนาด 0.25 g/kg/d และกลุ่มที่ให้ F I ขนาด 0.25 g/kg/d ซึ่งไม่พบมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจนใน 4 กลุ่มหลังนี้ การตรวจสอบสารในซีรั่มของสัตว์ทดลองได้แก่ glucose creatinine BUN และเอ็นไซม์ต่างๆ ได้แก่ alkaline phosphatase และ transaminase (SGOT, SGPT) ไม่พบมีความผิดปกติใดๆ เมื่อเทียบกับกลุ่ม control เป็นที่น่าสังเกตว่าระดับ cholesterol ในซีรั่มของกลุ่มที่ให้ F I และ FII อยู่ในระดับต่ำของเกณฑ์ปกติ เมื่อเทียบกับ control การตรวจเลือดทางโลหิตวิทยาไม่พบความผิดปกติในปริมาณของ hematocrit hemoglobin และจำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC) หรือเม็ดเลือดขาว (WBC) ไม่พบความปกติของชนิดต่างๆ ของเม็ดเลือดขาวพวก PMN Band Lymp. Mono. Eos. และ Baso. การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันโดยให้สัตว์ทดลองกินสารสกัดขนาดสูงมาก โดยให้ F II ขนาดครั้งละ 0.5 g/kg เป็นจำนวน 3 ครั้งใน 1 วัน หลังจากเฝ้าดูพฤติกรรมของกลุ่มสัตว์ทดลองเป็นเวลา 3 วัน ไม่พบความผิดปกติในพฤติกรรมทั่วๆ ไปของสัตว์ทดลอง เพียงแต่พบว่าน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองลดลงเล็กน้อยในวันแรกหลังป้อนสารทดลอง หลังจากนั้นในวันที่2 และวันที่ 3 สัตว์ทดลองมีอัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวเป็นปกติ ไม่พบมีความผิดปกติของอวัยวะภายในจากการตรวจสอบด้วยตาเปล่าen
dc.description.abstractalternativeSafety studies on the consumption of pectin-like substance isolated from Durian rind were determined, using laboratory animals (mice). Durian-rind extracts, crude fraction (F I) and partially purify fraction (F II), were given to groups of mice, food and water provided ad libitum. Preliminary test with high doses of Durian rind extracts were fed every day for 10 days. The results of good weight gain were observed. Groups of mice receiving F I 0.25 g/kg/d, F II 0.125 g/kg/d, 0.25 g/kg/d and 0.5 g/kg/d revealed good weight gain compared to control group. No differences in organ weights and its appearance determined by gross examination were observed. Safetytest on high doses of Durian rind extracts given every day for 60 days assary period were examined, using assemble groups of 15 mice, males, 20-25 g. initial weights. Body weight gains of experimental animals were record. A group of mice receiving F II 0.5 g/kg/d showed normal body weight gain for the first 15-20 days compared to group control and group receiving pectin 0.25 g/kg/d. After the day 20 until 60 days of assay period the mean valus of body weight gain was found rather lower than control group and groups receiving F I of F II 0.25 g/kg/d. The latter two groups showed good body weight gain comparable to group control and group receiving pectin 0.25 g/kg/d throughout of 60 days tested. No changes of organ appearance examined by gross lung and kidney, were observed. Only group receiving F II 0.5 g/kg/d had a little lower relative weight of liver compared with control group, group receiving pectin 0.25 g/kg/d and groups receiving F I or F II 0.25 g/kg/d. The latter four groups gave comparable relative weights of liver. The examination of serum glucose, creatinine BUN and enzymes such as alkaline phosphatase and transaminase (SGOT, SGPT) were determined. No differences in serum examination were found compared to control. It was noteworthy to indicate that serum cholesterol in groups receiving F I and F II revealed at lower level of normal range comparedto control. No changes in hematologic studies were observed. Percentages of hematocrit and hemoglobin were normal. Normal blood count of RBC and WBC were observed. There were no differences in white blood cells such as PMN, Band, Lymphocyte, Monocyte, Eosinophil and Basophil. Acute toxicity test was done with a very high dose of F II 0.5 g/kg, 3 times for one day. Normal behaviour of animals (mice) was observed for 3 days of experimental period. Only decreasing in body weight at the first day of the experiment was observed. However, body weight gain of the animals (mice) was normal at the second and the third day of observation. No differences in organ appearance examined by gross examination.en
dc.description.sponsorshipทุนวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2529en
dc.format.extent13533463 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเปลือกทุเรียน--วิเคราะห์และเคมีen
dc.subjectเพ็คตินen
dc.titleการศึกษาความปลอดภัยและความเป็นพิษของการบริโภค สารสกัดคล้ายเพคตินจากเปลือกทุเรียน : รายงานวิจัยen
dc.title.alternativeStudies on safety and toxicity of the consumption of pectin-like substance isolated from durian rinden
dc.typeTechnical Reporten
dc.email.authorSunanta.Po@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SunantaStudies.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.