Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.authorพิมสาย จึงตระกูล, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-21T04:50:14Z-
dc.date.available2006-06-21T04:50:14Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741754728-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/420-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractศึกษาสภาพ ความต้องการและปัญหาเกี่ยวกับการฝึกอบรมในงาน การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมของนักเทคโนโลยีการศึกษา ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกอบรมในงาน เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามแนวคิดวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา และนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามแนวคิดวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วมสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน 201 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 23 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาสนับสนุนให้บุคลากรเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยหัวหน้างานมอบงานเป็นกลุ่มและรายบุคคล หัวหน้างานเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานจากผลงาน ซึ่งตรงกับความต้องการของนักเทคโนโลยีการศึกษา นักเทคโนโลยีการศึกษายังไม่มีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน และยังไม่มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันที่ชัดเจน นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานและดำเนินงานต่างๆ ของหน่วยงานมากที่สุด 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกับข้อความเกี่ยวกับ รูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันจำนวน 173 ข้อ จากจำนวน 180 ข้อ 3. รูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามแนวคิดวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3.1 องค์ประกอบ 8 องค์ประกอบ คือ 1) นโยบายสนับสนุนการฝึกอบรมในงาน 2) หัวหน้างาน 3) นักเทคโนโลยีการศึกษา 4) สื่อสนับสนุน 5) บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน 6) กิจกรรมการพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน 7) แนวทางการประเมินผลการฝึกอบรม และ 8) ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ 3.2 ขั้นตอนการพัฒนา 7 ขั้นตอนคือ 1) กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2) จัดเตรียมองค์ประกอบที่สำคัญ 3) ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจร่วมกัน 4) พัฒนาการสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตัวของนักเทคโนโลยีการศึกษา 5) พัฒนาวิสัยทัศน์องค์กร 6) สื่อสารวิสัยทัศน์ และ 7) ประเมินผลทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันen
dc.description.abstractalternativeTo study status, needs and problems of on-the-job training, the building shared vision and the participatory learning of educational technologists, to study specialists' opinions concerning on-the-job training model for developing the building shared vision skills based on the participatory learning approach for educational technologists, and to propose on-the-job training model for developing the building shared vision skills based on the participatory learning approach for educational technologists in higher education institutions. The samples of this research consisted of two hundred and one educational technologists and twenty-three specialists. The data were collected by means of questionnaires and three-rounds of Delphi instruments. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range. The results indicated that 1. The educational technology centers supported their media staff members to learn individually through assigning individual and group tasks. The supervisors evaluated staff members performance from work output based on educational technologists' needs. The staff members rarely involved in building visions of the centers and there were unstructured activities for building shared vision skills. The educational technologists need to participate in developing the building shared vision skills through work and administrative involvement. 2. The 173 statements from 180 of specialists final consensus were considered for on-the-job training model to develop the building shared vision skills. 3. The on-the-job training model for developing the building shared vision skills consisted of : 3.1 Eight training components : 1) on-the-job training policies, 2) supervisors, 3) educational technologists, 4) supporting media, 5) work climate and environment, 6) activities for developing the building shared vision skills, 7) guidelines for training evaluation and 8) key success factors. 3.2 Seven developmental steps : 1) determine policies for developing the building shared vision skills, 2) provide key components, 3) address and create shared understanding, 4) develop skills for building individual visions, 5) determine organization visions, 6) communicate visions through organization wide, and 7) evaluate the building share vision skills.en
dc.format.extent3219555 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1306-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเทคโนโลยีทางการศึกษา--การฝึกอบรมในงานen
dc.subjectการเรียนแบบมีส่วนร่วมen
dc.subjectวิสัยทัศน์en
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมในงานเพื่อพัฒนาทักษะการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตามแนวคิดวิธีการเรียนแบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาen
dc.title.alternativeA proposed on-the-job training model for developing the building shared vision skills based on the participatory learning approach for educational technologists in higher education institutionsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOnjaree.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.1306-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimsai.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.