Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44215
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์-
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ เสนจันทร์ฒิไชย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-03T07:32:21Z-
dc.date.available2015-08-03T07:32:21Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44215-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ มีวัตถุประสงค์คือ ๑. ศึกษาประวัติการสร้างซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ ๒. ศึกษากรรมวิธีการสร้างซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ ๓. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสาย ของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ โดยวิธีการเก็บข้อมูลการศึกษาภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ หลังจากผู้วิจัยได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ครูวินิจ พุกสวัสดิ์ เป็นเวลา ๑๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ครูวินิจ พุกสวัสดิ์เริ่มต้นฝึกกลึงซอสามสาย ซอด้วง และซออู้โดยเป็นลูกมือของครูประจิตต์ ชัยเจริญ ช่างซอและนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในจังหวัดสมุทรสงคราม ครูวินิจได้รับความรู้วิธีการกลึงเข้าเกลียวต่อซอสามสายที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของครูประจิตต์ ชัยเจริญ จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ครูวินิจ พุกสวัสดิ์ได้รับมอบหมายให้ซ่อมซอสามสายของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดุริยชีวิน) จึงเก็บบันทึกสัดส่วนไว้เป็นต้นแบบ เมื่อครูประจิตต์ ชัยเจริญได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ครูวินิจ พุกสวัสดิ์ ได้แยกออกมาประกอบกิจการของตนเอง และได้รับมอบหมายจากครูไมตรี พุ่มเสนาะ หัวหน้ากองดุริยางค์ทหารเรือให้สร้างซอสามสายตามรูปแบบของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ ที่ได้ปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ตามทัศนะของท่าน ๓ ประการคือ ๑.สัดส่วนรูปทรงลูกบิด ๒. สัดส่วนช่วงของคันทวนซอสามสาย ๓. ขั้นตอนการขึ้นหน้าซอสามสาย ลักษณะเฉพาะในการสร้างซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ คือการกลึงลูกแก้วท่อนยอด ลูกแก้วท่อนกลาง ลูกแก้วช่วงรูเสียบลูกบิด และลูกแก้วเท้าซอสามสาย (แข้งไก่) การลงใบมีดกลึงชิ้นงานที่แสดงถึงการเล่นระดับของลูกแก้ว ความละเอียดอ่อน ประณีตบรรจงของลูกแก้ว การกำหนดสัดส่วนของคันทวนซอสามสายแต่ละช่วงให้เหมาะสมกับทวนถมที่ใช้ การเก็บเนื้องาน การเคลือบแล็คเกอร์ไม่ให้เป็นลูกคลื่น การกลึงเข้าเกลียวโลหะซอสามสายที่สามารถเข้าเกลียวต่อกันได้อย่างแนบสนิทมั่นคง การออกแบบคันชักซอสามสายเพื่อสะดวกในการบรรเลงมากขึ้น ไม้เสริมหางม้าช่วงโคนคันชัก การออกแบบให้ปลายหัวคันชักด้านในไม่แนบติดกับหางม้าเพื่อการใช้ความยาวของหางม้าได้อย่างคุ้มค่า และไม่สะดุดเมื่อมีการบรรเลงบนสายซอที่มีการสียาวจนถึงช่วงปลาย ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์ให้มีลักษณะเสียงโหยไห้ ไพเราะ นุ่มนวล มี ๘ ประการ คือ ๑. หนังแพะที่ขึ้นหน้าตึงและให้น้ำเสียงที่เหมาะสมกับซอสามสาย ๒. เชิงไม้ขนุนให้น้ำเสียงที่ไพเราะ ๓. กะลามะพร้าวซอที่มีโครงสร้างและมวลความหนาที่เหมาะสม ๔. สายซอต้องมีการควั่นเกลียวของหนวดพราหมณ์และสายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ๕. ระยะความกว้างของสายระหว่างรัดอกถึงหย่องเท่ากับ ๑๖ นิ้ว ๖. องศาของเหยียบกะโหลก (ปากช้างบน) เท่ากับ ๕ องศา และองศาหุ้มกะโหลก (ปากช้างล่าง) เท่ากับ ๓ องศาที่ไม่ให้เอียงมากเกินไป ๗. ระยะห่างความยาวของช่วงสายจากลูกบิดสายกลางถึงรูร้อยหนวดพราหมณ์มีระยะความกว้างเท่ากับ ๓๔ นิ้ว ๘. ช่างมีประสบการณ์คลุกคลีอยู่กับนักเล่นซอที่มีชื่อเสียงตั้งแต่เยาว์วัยทำให้เข้าใจในเรื่องเสียงของเครื่องดนตรีen_US
dc.description.abstractalternativeThe research is entitled process of making Saw Sam Sai by Master Vinij Puksawat. The objectives are threefolded : (1) to study the history and process of making Saw Sam Sai of Master Vinij Puksawat; (2) to study the factors affecting its sound quality by using field studies and data collection after the researcher has known and acquired knowledge from him for 10 years. The results show that Master Vinij Puksawat began to make Saw Sam Sai, Saw Duang (treble fiddle), and Saw U (soprano fiddle) in 1957 as an assistant of Master Prajit Chaijareon. He received the knowledge of tidding spiral lathes of Saw Sam Sai that is considered to be the innovation from Master Prajit Chaijareon. In 1972, Master Vinij Puksawat was assigned to repair Saw Sam Sai Owned Luang Phairosiangso (Aun Duriyachiwin). So, he kept this model and made a record as a guideline. When Master Prajit Chaijareon has died in 1974, Master Vinij Puksawat left to start his own business. He was then assigned by Master Maitree Phoomsanoh, the brigadier of royal navy of music, to make a Saw Sam Sai following Master Vinij’s design which included improved its appearance following his opinion that was different from the original design, The improvement knob’s shape, the proportion of bow of Saw Sam Sai following appropriation of bow’s combined materials. The characteristics of Saw Sam Sai made by Master Vinij Puksawat is lathing combined with top-pieces, mid-pieces, socket knobs and bottom , shapping with a blade that is delicate and neat. Each interval is suited with a bow, lacquering neatly, and lathing to metal spiral of Saw Sam Sai to thread against each other stability. The design of bow of Saw Sam Sai is reinforced a base of the bow which is useful and helpful to player. The factors affecting sound quality of Saw Sam Sai include the use of goat leather which gives matching tones to it, the use of jackfruit wood foot combined with a fiddle’s shell. Fiddle string must have an appropriate size, and must be the same string, The experience of being familiar with Thailand’s string instruments is one of the most important factors in making a musical instrument.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.76-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวินิจ พุกสวัสดิ์en_US
dc.subjectซอสามสายen_US
dc.subjectเครื่องดนตรีไทยen_US
dc.subjectVinij Puksawaten_US
dc.subjectMusical instruments -- Thailanden_US
dc.titleกรรมวิธีการสร้างซอสามสายของครูวินิจ พุกสวัสดิ์en_US
dc.title.alternativeProcess of making saw sam sai by Master Vinij Puksawaten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineดุริยางค์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPornprapit.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.76-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veerawat_se.pdf28.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.