Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46342
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อศิ บุญจิตราดุลย์ | en_US |
dc.contributor.author | สุภัค ดาวยก | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:24:16Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:24:16Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46342 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนอัตราการไหลเชิงมวลของเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงต่อเจ็ตหลัก (rm) ที่มีต่อโครงสร้างการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวางด้วยกระบวนการ Proper Orthogonal Decomposition (POD) การวัดสนามความเร็วขณะใด ๆ ในระนาบจะใช้ Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) โดยใส่อนุภาคติดตามการไหล 2 วิธี คือ 1) วิธีใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะเจ็ตเท่านั้น ไม่ใส่ในกระแสลมขวาง ทำให้สามารถระบุและแยกแยะบริเวณที่มีส่วนผสมของเจ็ตและโครงสร้างของเจ็ตออกจากบริเวณกระแสลมขวางบริสุทธิ์ ดังนั้นด้วยวิธีการใส่อนุภาคนี้ ไม่เพียงแต่สามารถวิเคราะห์โครงสร้างที่มีส่วนผสมของเจ็ตได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังทำให้สามารถประเมินหาอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมได้โดยตรง และยังทำให้สามารถประเมินหาความน่าจะเป็นที่จะพบส่วนผสมของเจ็ต ณ จุดใด ๆ ได้ 2) วิธีใส่อนุภาคติดตามการไหลทั้งเจ็ตและกระแสลมขวาง ด้วยวิธีนี้ ประกอบกับวิธีใส่อนุภาคเฉพาะเจ็ตเท่านั้น ทำให้สามารถวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนผสมของเจ็ตและกระแสลมขวางบริสุทธิ์ได้ชัดเจนมากขึ้น โดยทดลองกรณีเจ็ตในกระแสลมขวาง (JICF) ที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล (r) เท่ากับ 4.2 ตัวเลขเรย์โนลดส์ของกระแสลมขวางเท่ากับ 5,700 และกรณีฉีดเจ็ตควบคุมโดยฉีดที่ตำแหน่ง ±135o ที่ปริมาณ rm 2 ปริมาณ คือ 2% และ 4% จากผลการศึกษาของวิธีใส่อนุภาคเฉพาะเจ็ตเท่านั้นซึ่งจะเป็นโครงสร้างที่มีส่วนผสมของเจ็ตเท่านั้น พบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณ rm สูงขึ้นเป็น 4% จะไปกระตุ้นให้โครงสร้างที่มีส่วนผสมของเจ็ตทั้ง POD Mode 1, 2 และ 3 มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน และมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเจ็ตพัฒนาตัวไปตามแนว downstream เมื่อเทียบกับการฉีดเจ็ตควบคุมที่ rm = 2% และกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม (JICF) จากการพิจารณาโครงสร้าง POD Mode 1, การกระจายตัวของระดับพลังงาน และโครงสร้างความเร็วเฉลี่ย ที่ได้จากทั้ง 2 วิธีการใส่อนุภาค พบว่า โครงสร้างที่มีส่วนผสมของเจ็ต กล่าวโดยเฉพาะเจาะจงคือ โครงสร้าง CVP จะเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธิ์ในบริเวณด้านล่างของเจ็ตให้เกิดการเคลื่อนที่แบบปั่นป่วนหรือเริ่มมีส่วนร่วมกับการไหลปั่นป่วนของเจ็ต และจะเหนี่ยวนำกระแสลมขวางจากบริเวณด้านล่างของเจ็ตนี้ขึ้นไปผสมกับตัวเจ็ตผ่านทางช่องแนวดิ่ง (vertical channel) ที่มีความเร็วในแนว traverse ทิศพุ่งขึ้นสูง ที่อยู่ระหว่างคู่ vortex ของ CVP โดย CVP จะเป็นตัวเหนี่ยวนำและขับเคลื่อนทำให้ช่องแนวดิ่งนี้ยังคงอยู่ได้เมื่อเจ็ตพัฒนาตัวไปตามแนว downstream ผลการศึกษาชี้แนะว่า กลไกการเหนี่ยวนำของ CVP ที่ทำให้เกิดช่องแนวดิ่งที่มีความเร็วในแนว traverse ทิศพุ่งขึ้นสูงนำของไหลในกระแสลมขวางที่บริเวณด้านล่างของเจ็ตขึ้นไปผสมกับตัวเจ็ตนี้ น่าจะเป็นกลไกการเหนี่ยวนำการผสมหลักกลไกหนึ่งของเจ็ตในกระแสลมขวางในระนาบตัดขวาง ท้ายสุด จากผลการศึกษา พบว่า เมื่อฉีดเจ็ตควบคุมที่ปริมาณ rm สูงขึ้นเป็น 4% จะทำให้อัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรเพิ่มขึ้นถึง 45% ที่ตำแหน่ง x/rd = 0.5 เมื่อเทียบกับกรณีไม่ฉีดเจ็ตควบคุม สันนิษฐานว่าการเพิ่มขึ้นของการเหนี่ยวนำการผสมของกรณี rm = 4% มีสาเหตุหนึ่งมาจากการทะลุทะลวงที่สูงกว่าของ CVP ในกรณีนี้ทำให้ผลกระทบจากการจำกัดการเหนี่ยวนำการผสมโดยผนังที่พื้น (wall blocking) น้อยลงเมื่อเทียบกับกรณีฉีดเจ็ตควบคุมที่ปริมาณ rm = 2% และกรณีที่ไม่ฉีดเจ็ตควบคุม (JICF) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Effects of the azimuthal control jets to main jet mass flowrate ratio on the flow structures of a jet in crossflow are investigated by proper orthogonal decomposition (POD). The instantaneous velocity fields in various cross planes are measured by Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) with two PIV tracer particles seeding schemes. 1) The first seeding scheme is the jet-fluid only – and not the crossflow fluid – seeding scheme. This seeding scheme allows us to instantaneously and clearly identify and differentiate the jet-fluid mixture region and structures from the pure crossflow fluid region. As a consequence, this seeding scheme does not only allow us to investigate the jet-fluid mixture structure more clearly but also allows us to determine jet entrainment more directly and to be able to determine the probability of finding jet-fluid mixture at a point. 2) The second seeding scheme is both jet and crossflow fluids seeding scheme. This seeding scheme, together with the jet-fluid only seeding scheme, allows us to analyze the interaction between the jet-fluid mixture structure and the surrounding pure crossflow fluid more clearly. The experiment is conducted for the baseline jet in crossflow (JICF) with effective velocity ratio (r) of 4.2 and crossflow Reynolds number (Recf) of 5,700. For the cases of controlled jet in crossflow, a pair of azimuthal control jets are deployed steadily at the azimuthal position of ±135o. Two cases of the control jets to main jet mass flowrate ratio (rm) are experimented, rm of 2% and 4%. The results from the jet-fluid only seeding scheme – which emphasizes only the jet-fluid mixture structure - show that as rm increases to 4%, the jet-fluid mixture structures of POD Mode 1, 2 and 3 significantly change and are more stable in the downstream direction when compared to the case of lower rm and JICF. Consideration of the results of POD Mode 1, energy distribution, and mean velocity structure from both seeding schemes also shows that the jet-fluid mixture structure, specifically the counter-rotating vortex pair (CVP), induces the surrounding pure crossflow in the region under the jet to start participating in its turbulent motion and entrains the crossflow from underneath through a vertical channel of high upward transverse velocity. This vertical channel of high upward transverse velocity is located between the vortex pair and is induced, fueled, and sustained in the downstream direction by the CVP itself. This is found to be one of the entrainment mechanisms of the jet in crossflow in the cross plane. Finally, the results show that as rm increases to 4%, the entrainment significantly increases to 45% at x/rd = 0.5 when compared to JICF. Further investigation suggests that the increase in entrainment in the case of rm = 4% is due to higher penetration of the CVP, which lessens the wall blocking of entrainment of crossflow fluid underneath the jet when compared to the cases of rm = 2% and baseline JICF. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1195 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เจ็ต | |
dc.subject | เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล | |
dc.subject | Jets | |
dc.subject | Jets -- Fluid dynamics | |
dc.title | ผลของอัตราส่วนอัตราการไหลเชิงมวลของเจ็ตควบคุมตามแนวเส้นรอบวงต่อเจ็ตหลักต่อโครงสร้างการผสมของเจ็ตในกระแสลมขวางโดยใช้ POD | en_US |
dc.title.alternative | EFFECTS OF THE AZIMUTHAL CONTROL JETS TO MAIN JET MASS FLOWRATE RATIO ON THE FLOW STRUCTURES OF A JET IN CROSSFLOW VIA POD | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเครื่องกล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | asi.b@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1195 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5770339321.pdf | 25.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.