Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51171
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรีen_US
dc.contributor.authorชนันญา ชูนาคen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T06:01:22Z-
dc.date.available2016-12-02T06:01:22Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51171-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ละคอนเล็ก: การสร้างสรรค์การแสดง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก สำหรับคนรุ่นใหม่” นี้ เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และเชิงคุณภาพ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดง และค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กสำหรับคนรุ่นใหม่ ท่ามกลางกระแสอันแปรปรวนของวัฒนธรรมที่หลากหลายจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งโลกาภิวัฒน์ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบสหสาขาวิชาจากองค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก ศิลปกรรมศาสตร์ (นาฏยศิลป์ ทัศนศิลป์ ดุริยางค์ศิลป์ ศิลปการละคร และนฤมิตศิลป์) จิตวิทยา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ (Generation Y) รวมถึงแนวคิดวิเคราะห์ทางการตลาดแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำรา และสื่อสารสนเทศ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การเข้าร่วมสัมมนา และการใช้เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน 2553 ถึงเดือนมิถุนายน 2558 ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบในการแสดง และดำเนินการทดลองปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนดำเนินการพัฒนา แก้ไขปรับปรุงการแสดง นำเสนอผลงานการสร้างสรรค์สู่สาธารณชน สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานวิจัยตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการสร้างสรรค์การแสดง สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงได้ 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ด้วยเทคนิคการปะติด (Collage) สะท้อนถึงองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก ความเชื่อและ ความคิดของศิลปินหุ่นละครเล็ก และทัศนคติของคนรุ่นใหม่ต่อศิลปะไทย 2) นักแสดง มีความสามารถหลากหลาย ทั้งทางด้านการแสดง การเชิดหุ่นละครเล็ก นาฏยศิลป์ไทย และนาฏยศิลป์ตะวันตกสมัยนิยม แนวสตรีทแด๊นซ์ (Street Dance) รวมถึงการสื่ออารมณ์ และความหมาย 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์การละคร (Dance-Theatre) ที่ผสมผสานศิลปการละคร นาฏยศิลป์ไทย และนาฏยศิลป์ตะวันตกสมัยนิยมเข้าไว้ด้วยกันอย่างบูรณาการ 4) ดนตรี และเสียงประกอบ ใช้ทั้งเพลงประกอบการแสดงแบบดั้งเดิม และเพลงร่วมสมัยที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่ เน้นเสียงประกอบที่เสริมสร้างบรรยากาศ และสอดคล้องกับการแสดง 5) อุปกรณ์การแสดง สร้างสรรค์ตามแนวคิดสัจนิยม (Realism) และเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) เพื่อสร้างความสมจริง และสื่อสารการแสดง 6) พื้นที่การแสดง ใช้พื้นที่หลากหลาย ทั้งบนเวทีกลาง เวทีเสริมต่างระดับ บริเวณทางเดิน และที่นั่งของผู้ชม เพื่อสร้างบรรยากาศ และความแปลกใหม่ 7) เครื่องแต่งกาย ออกแบบตามแนวคิดสัจนิยม (Realism) เน้นความสมจริงตามลำดับยุคสมัยภายในเรื่อง แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) เพื่อสื่อความหมายในเชิงลึก และแนวคิดเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) โดยใช้เทคนิคการแต่งหน้า และผิวกายพิเศษ ในการสื่อความคิดให้เป็นรูปธรรม 8) แสง และเทคนิคพิเศษ ผสมผสานการจัดแสงแบบนาฏยศิลป์ ที่เน้นลักษณะของการเต้นรำ และการจัดแสงแบบละครเวที เพื่อเล่าเรื่อง และเสริมสร้างบรรยากาศ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีของสี และทิศทางของแสง ในการถ่ายทอดอารมณ์ พร้อมเทคนิคพิเศษ เพื่อเสริมสร้างความสวยงาม และความสมจริง ส่วนแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดง เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในศิลปะการแสดงหุ่นสำหรับคนรุ่นใหม่ เรื่อง “ละคอนเล็ก” นั้น ได้ให้ความสำคัญใน 8 ประเด็นดังนี้ คือ 1) การคำนึงถึงการสร้างสรรค์การแสดงเพื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ 2) การอนุรักษ์ ถ่ายทอด และสืบสานศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก ในฐานะศิลปะการแสดงประจำชาติ 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดง 4) การใช้ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง 5) การใช้ทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปการละคร 6) การคำนึงถึงการสะท้อนสภาพสังคมปัจจุบัน และปัญหาที่เกิดขึ้น 7) การใช้สัญลักษณ์ เพื่อสื่อสารการแสดง และ 8) การคำนึงถึงทฤษฎี และแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post-Modern) ดังนั้น ผลการวิจัยทั้งหมดนี้ จึงมีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ โดยผลงานการสร้างสรรค์การแสดงชิ้นนี้ ได้เป็นตัวอย่างของสื่อที่แสดงถึงการสร้างความเข้าใจ และกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เกิดความภาคภูมิใจในศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็ก มรดกทางวัฒนธรรมของชาติต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe dissertation, “Lakhonlek: The Creation of Performing Arts for Enhancing the Understanding of Traditional Thai Theatrical Puppetry in New Generation”, is a creative research and a qualitative research. The research aims to create performing arts and search for the design approaches of performing arts in order to enhance an understanding and an access of traditional Thai theatrical puppetry for new generation of audiences who are surrounded by multi-cultures from technology advance. The world of communication leads to the changes of values and life styles. The study applies aesthetic principals according to Traditional Thai Theatrical Puppetry, Fine and Applied Arts (Dance, Music, Visual Arts, Theatre Arts and Creative Arts), Psychology, Sociology and Consumption Behaviors of new generation (Generation Y). The data were collected from text books, interview the person related to the research, seminars, information technologies, and field survey during June 2010 to December 2014 both abroad and within the country. Later, the data were analyzed to study the form and performing components, proceeded the creation, developed and revised, presented the performance to the youth audiences, summarized and finally presented in the research paper. The study found that the creation of performing arts could be divided into eight performing components; 1) the play newly being created reflecting the crux elements of Traditional Thai Theatrical Puppetry, ideas and believes of Traditional Thai Theatrical Puppet artists, and attitude toward Thai arts and cultures in new generations; 2) the performers are capable in traditional Thai puppetry, Thai dance, Street dance, and acting including emotion and meaning expression; 3) the choreography as Dance-Theatre, the movements are presented the combination of the stage performances, Traditional Thai Theatrical puppetry and street dance; 4) the music and sound effects are used both original traditional Thai music and new temporary music composition related to the atmosphere; 5) the setting and props being designed through the realism and symbolism to encourage a reality and communication; 6) the space (performing area) is varied, both on the main stage, sub-stage, audience seats and other areas in order to create the novel aspects; 7) the lighting being designed for both dance and stage play applied a color theory to express the feeling and emotion. The special effects were to arouse its reality, and 8) the costume being designed through 3 concepts as realistic, symbolic and surrealistic presentation in order to concretely communicate the idea. The concept of the creation of performing arts prioritizes 8 aspects, including 1) consideration of the creation of performing arts for new generations; 2) conserving and inheriting the Traditional Thai Theatrical Puppetry as the national heritage; 3) consideration of the creativity in the performing arts; 4) usage of variety of the art forms; 5) usage the theories of dances, music, visual arts, and theatre arts; 6) consideration of current society situation and issues; 7) usage of symbol in performing arts and communication and 8) consideration of Post-Modern concepts and theories. The result of the study is consistent and meets all of its objectives. The creation of this performance is deemed as a good example for promoting and arousing an understanding of Traditional Thai Puppetry as the national art among new generations.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleละคอนเล็ก: การสร้างสรรค์การแสดง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจใน ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กสำหรับคนรุ่นใหม่en_US
dc.title.alternativeLAKHONLEK: THE CREATION OF PERFORMING ARTS FOR ENHANCING THE UNDERSTANDING OF TRADITIONAL THAI THEATRICAL PUPPETRY FOR NEW GENERATIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386806435.pdf20.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.