Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55185
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นราพงษ์ จรัสศรี | - |
dc.contributor.author | สิริธร ศรีชลาคม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:29:35Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:29:35Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55185 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบและศึกษาแนวคิดที่ได้หลังจากการปฏิบัติการสร้างสรรค์การแสดงผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการฉายภาพสำหรับการแสดงที่มีแนวคิดเรื่องปลากัดและพฤติกรรมการมีอาณาเขตครอบครอง โดยใช้กระบวนการการสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษาจากสื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์งานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การละคร และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย จากนั้นจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ เพื่อศึกษารูปแบบและองค์ประกอบในการแสดง ทำการทดลองปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนดำเนินการพัฒนา แก้ไขปรับปรุงการแสดง นำเสนอผลงานการแสดงสู่สาธารณชน สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานการวิจัยตามลำดับ ผลของการวิจัยพบว่า ในด้านการสร้างสรรค์การแสดง สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์โครงเรื่องจากปลากัดและพฤติกรรมการมีอาณาเขตครอบครอง 2) นักแสดง มีความสามารถในการแสดงนาฏยศิลป์ตะวันตก และนาฏยศิลป์ไทย 3) ลีลา ใช้แนวทางของนาฏยศิลป์ร่วมสมัย เทคนิคต่าง ๆ ประยุกต์ผสมผสานท่าการเคลื่อนไหวนาฏยศิลป์รูปแบบอื่น ๆ 4) ดนตรีและเสียงประกอบการแสดง ใช้เสียงจากสิ่งแวดล้อมและดนตรีไทยร่วมสมัยรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ประพันธ์และเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ 5) การฉายภาพประกอบการแสดงผ่านอุปกรณ์เทคนิคการฉายภาพหลายรูปแบบ ใช้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และสื่อการนำเสนอภาพสด 6) สถานที่แสดง มีลักษณะของพื้นที่เฉพาะเปรียบเสมือนโหลของปลากัดแต่ละตัว 7) แสง ออกแบบเพื่อสนับสนุนการฉายภาพประกอบการแสดง 8) เครื่องแต่งกาย การออกแบบตามแนวคิดความเรียบง่ายตามรูปแบบค่านิยมความงามของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ และนอกจากนี้ในด้านแนวคิดของการแสดงนาฏยศิลป์ที่ปรากฏภายหลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน พบว่ามีแนวคิด 7 ประการ ได้แก่ 1) การคำนึงถึงการสร้างสรรค์การแสดงเกี่ยวกับปลากัดและพฤติกรรมการมีอาณาเขตครอบครอง 2) หลักการออกแบบนาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการฉายภาพสำหรับการแสดง 3) ความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) องค์ประกอบทางด้านศิลปกรรม 5) การใช้พื้นที่เฉพาะในการจัดการแสดง 6) การให้ผู้ชมเคลื่อนที่ตามการแสดงไปในพื้นที่ต่าง ๆ และ 7) การสร้างสรรค์การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ครั้งนี้ จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ โดยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างสาขา เพื่อหากระบวนการในการสร้างสรรค์ เป็นแนวทางในการพัฒนาการนำเสนอนาฏยศิลป์ในพื้นที่เฉพาะ ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์การแสดงนาฏยศิลป์ทดลองในรูปแบบที่เปิดกว้างในวงการการศึกษานาฏยศิลป์ เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการฉายภาพต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The dissertation, “THE CREATION OF CONTEMPORARY DANCE COMBINED WITH THEATRICAL PROJECTION DESIGN: MY TANK”, aims to create performing arts and investigate the design approaches of performing arts. The performance is based on the concept of territoriality and inspired by the Siamese fighting fish. The data were collected from research documents, interviews with experts, media information, field surveys, observation of performing arts and the researcher’s experiences. The results of the research shows that the creation of performing arts can be divided into eight components: 1) the structure of the performance is based on the concept of the Siamese fighting fish and Territoriality; 2) the performers are skilled in western dance as in Thai classical dance; 3) the choreography uses contemporary dance techniques combined with other dance styles; 4) the music and the sound effects use ambience sounds and contemporary electronic Thai music; 5) the theatrical projection design includes still picture projection, motion graphic projection and live projection; 6) the space is a site-specific performance area where the audience have to move along the various performing sites; 7) the lighting is designed to support the projection design; and 8) the costume design is based on the postmodern concept of simplicity. The concept of the creation of performing arts prioritizes 7 aspects: 1) consideration of the creation based on the concept of the Siamese fighting fish and Territoriality; 2) contemporary dance combined with theatrical projection design; 3) the postmodern concept of simplicity; 4) art composition; 5) site specific performances; 6) moving the audience and 7) art creation for art. The creation of this performance is deemed to be a good example for linking different knowledge from the creative process. In the future, it can become the starting idea for creating further dance performances in site-specific spaces and can be beneficial to those who are interested in the knowledge of theatre design for dance. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1099 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการฉายภาพสำหรับการแสดง: มาย แท็งก์ (My Tank) | - |
dc.title.alternative | THE CREATION OF CONTEMPORARY DANCE COMBINEDWITH THEATRICAL PROJECTION DESIGN: MY TANK | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Naraphong.C@Chula.ac.th,Thaiartmovement@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1099 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786837235.pdf | 24.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.