Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61059
Title: ศึกษาเอนไซม์ metallo-B-lactamase และ integrons ของเชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่ได้จากสิ่งส่งตรวจในประเทศไทย
Other Titles: Investigation of metallo-B-lactamase producing strains and integrons of pseudomonas aeruginosa clinical isolates in Thailand
Authors: เฌอมาน ปิยะกุล
Advisors: เขมาภรณ์ บุญบำรุง
รัชนีพร ติยะวิสุทธิ์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Advisor's Email: Khaemaporn.B@Chula.ac.th
Rachaneeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: ซูโดโมนาสแอรูจิโนซา
แบคทีเรีย
Pseudomonas aeruginosa
Bacteria
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสร้างเอนไซม์ metallo-β-lactamase (MBL) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ดื้อต่อยา carbapenems และยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ชนิดนี้สามารถถ่ายทอดข้ามสายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรียโดยผ่านโครงสร้างทางพันธุกรรมที่เรียกว่า integron ได้ งานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาการสร้างเอนไซม์ MBL และความสัมพันธ์ของ class 1 integron ในเชื้อ P. aeruginosa จากสิ่งส่งตรวจ150 ตัวอย่างจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาด 1,200 เตียง ในกรุงเทพมหานคร โดยทดสอบความไวและดื้อต่อยาต้านจุลชีพ ด้วยวิธี disc diffusion และหาค่าความเข้มข้นต่ำที่สุดของยา (MIC) imipenem ที่สามารถยับยั้งเชื้อได้โดยใช้ imipenem E-test พบว่า เชื้อมีอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ในอัตราสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาในกลุ่ม quinolones, กลุ่ม third-generation cephalosporins, กลุ่ม β-lactam/inhibitor และกลุ่ม carbapenems จากนั้นศึกษาเอนไซม์ MBL ในระดับฟีโนไทป์ และระดับโมเลกุล ด้วยวิธี Modified Hodge Test และปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส(PCR) ตามลำดับ และตรวจสอบยีนในกลุ่ม class 1 integron ด้วยวิธี multiplex PCR ผลการทดสอบการสร้างเอนไซม์ MBL พบว่า 28 ตัวอย่าง มีการสร้างเอนไซม์ในระดับ ฟีโนไทป์และเชื้อทุกตัวอย่างในกลุ่มนี้ต่างก็มีค่าMICของยาimipenem สูง(≥32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) และในระดับโมเลกุล พบว่า ร้อยละ 33.3 ของกลุ่มตัวอย่าง มียีนในกลุ่ม class 1 integron นอกจากนี้ ยังพบว่าเชื้อมียีน blaIMP และยีน blaVIM จำนวน 28 และ 1 isolate ตามลำดับ ซึ่งเมื่อตรวจสอบลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่าเป็นยีนชนิดIMP-14 และVIM-2 ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์ของเชื้อโดยใช้วิธี pulsed-field gel electrophoresis (PFGE) พบว่า เชื้อที่มียีนชนิด IMP-14 เกือบทุกสายพันธุ์มีรูปแถบดีเอ็นเอที่ใกล้เคียงกัน จึงเป็นไปได้ว่า มีการแพร่กระจายของเชื้อสายพันธุ์เดียวกันหรือสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันระหว่างผู้ป่วย
Other Abstract: Metallo-β-lactamase (MBL) is the major reason for carbapenems resistance in Pseudomonas aeruginosa and the gene encoding of MBL can be transferred to other bacteria via mobile elements; integron. We aimed to investigate MBL- producing P. aeruginosa strains association with class 1 integron observed in 150 isolates from a 1,200-bed hospital of Thailand. First, we investigated their susceptibility profile by the disc diffusion method and also determined the MIC of imipenem using the E-test. They showed a high rate of resistance to most antibiotics especially quinolones, third-generation cephalosporins, β-lactam/inhibitor and carbapenems. The production of MBL was detected in phenotypic and genotypic by the Modified Hodge Test and PCR. Moreover, class 1-integron genes were detected using multiplex PCR. They showed that 28 isolates were phenotypic MBL positive and presented high-level resistant to imipenem (MIC ≥ 32 μg/ml). In genotypic testing, 33.3% appeared to carry class 1-integron genes. 28 isolates harboured the blaIMP gene and 1 isolate harboured the blaVIM gene and revealed IMP-14 and VIM-2 after nucleotide sequencing. Moreover, IMP-14 producing P. aeruginosa isolates were identical and closely related in PFGE pattern, suggesting that the dissemination of these MBL genes could be due to the clonal dissemination.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61059
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1621
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1621
Type: Thesis
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cherman Piyakul.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.