Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63248
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรรัตน์ จารุทัศน์-
dc.contributor.authorชุติกาญจน์ แจ้งเสนาะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:56:47Z-
dc.date.available2019-09-14T02:56:47Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63248-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ได้มีการขับเคลื่อน โครงการการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม (Universal Accessibility) โดยพัฒนาการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคน  ( Universal Design ) รวมไปถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเชิงวัฒนธรรม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579 ในแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม โดย UNWTO ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA และ โรงละครสยามนิรมิต ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้รับรางวัลอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 – 2560 จากมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง พัฒนา การเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร การจัดการเข้าถึงการแสดงนิทรรศการและการเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทั้งมวล และได้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการเข้าถึงเนื้อหา ภายในพิพิธภัณฑ์และโรงละคร โดยใช้หลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เพื่อสำรวจและหาแนวทาง การปรับปรุงการเข้าถึงและการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนอย่างเหมาะสม จากการศึกษานี้ ได้ใช้วิธีการ สำรวจแบบมีโครงสร้าง สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก เป็นกรณีศึกษา มีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มุ่งเน้นประเด็นปัญหาและอุปสรรคการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวก และการเข้าถึงเนื้อหาโดยการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล ภายในพิพิธภัณฑ์ และโรงละคร เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง  และการออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สอดคล้องกับกฏกระทรวงฯและการใช้งาน      ผลการศึกษา พบว่าปัญหา ส่วนใหญ่ เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการทางสายตา ซึ่งจากกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA มีการจัดให้ความช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล และสำหรับโรงละครสยามนิรมิตพบว่าคนพิการทางสายตา ไม่สามารถเข้าถึงลักษณะการแสดงและเนื้อหาได้ทั้งหมด ยังไม่มีการรองรับการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางสายตา จากการรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปข้อค้นพบการพัฒนาการเข้าถึงเนื้อหาโดย (1) ติดตั้งจอมัลติมีเดีย ที่มีความหลากหลายของการจัดเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองต่อประสาทสัมผัสหลักที่มีประสิทธิภาพของคนทุกคน และ (2) การจัดพื้นที่ งานศิลปะจำลอง เพื่อสร้างกระบวนการ การเข้าถึงผ่านการสัมผัสและสร้างจินตนาการ และข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ผ่านแอฟพลิเคชั่นของกรณีศึกษา เพื่อให้นักท่องเที่ยวและสถานที่เข้าถึงกันมายิ่งขึ้น ในการเตรียมด้านรายละเอียดเนื้อหารองรับทุกคนและการจัดทำแผนผังสัมผัสเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงเส้นทางสัญจรภายในสถานที่ผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยว-
dc.description.abstractalternativeThailand is one of the countries that focus on tourism in generating income for the country. For the Information, CNN Agency survey Report Global Tourist Destination Index indicates that "Bangkok" is popular among the foreign tourists as #1, identified by MasterCard 2017. With this Reason, for developing Bangkok to the World's Top Quality Tourist Attraction, the Ministry of Tourism and Sports cooperate with the Friendly Design Foundation for all have driven Tourism for all Project in Thailand to develop Universal Design Facility as well as sustainab in the culture. In accordance with the vision of Thai tourism, 2579 in the National Tourism Development Plan No.2 (BE 2560 - 2021) under the heading "Tourism for All promoting Universal Accessibility by UNWTO.          The Purpose of this Research was to study the Physical Characteristics of the Facilities for all in the case of Siam Niramitr Theater and the Thai Contemporary Art Museum ( MOCA ) which was a tourist attraction that had received the Friendly Design Award. From the study, this research has used structured observation, observation and in-depth expert interviews with structured interview model, focusing on problems and obstacles in the Use of Facilities and Content Accessibility by providing Assistive Technology, Universal Design and Reasonable Accommodation in Museums and Theaters to find the Design Improvement to meet the Ministerial Regulation and the Usage.            The Results from surveys and In-depth Interviews, which are real User Experts within the Case Study, found that most problems were obstacles for visually impaired people, From data collection can summarize the Improvement way to develope Content Accessibility by (1) Installing Multimedia Screens with Assistive Technology to respond to the powerful core senses of all, and (2) to create the space of 3D Simulated Artwork through touching and building Self Imagination, and For the Suggestions, First is Assistive Technology through the Application to make Tourists can related to the content by preparing details, medias to support for all. And Second is Tactile Map, so that the visually impaired can access the traffic routes within their own Travel Experience.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.660-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา โรงละครสยามนิรมิตและพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA-
dc.title.alternativeUniversal design for museum and auditorium : case study of Siam Niramitr and museum of contemporary art-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.660-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073556325.pdf11.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.