Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66533
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จารุวรรณ ลิมปเสนีย์ | - |
dc.contributor.author | พรรณรัตน์ รักนาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-22T07:23:18Z | - |
dc.date.available | 2020-06-22T07:23:18Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741766408 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66533 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการค้าชายแดนของด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานีที่มีต่อการพัฒนาภูมิภาค โดยพิจารณาสภาพการพัฒนา ปัญหา และบทบาท ทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในบริเวณด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ศึกษาเขตอิทธิพลการค้า ความเชื่อมโยงของโครงข่ายการขนส่งสินค้า รวมถึงพิจารณาถึงผลของการไหลเวียนสินค้า การเก็บรวบรวมข้อมูลจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ การศึกษาได้ศึกษาการนำเข้าและส่งออกสินค้า การไหลเวียนของสินค้านำเข้า ศึกษาถึงความเชื่อมโยงไปข้างหน้า คือ สินค้าที่เป็นวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การไหลเวียนของสินค้าส่งออก ศึกษาถึงความเชื่อมโยงไปข้างหลัง คือ ต้นทาง แหล่งผลิต และที่มาของวัตถุดิบของสินค้า โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการนำเข้าและส่งออกสินค้าจะทำให้เกิดการพัฒนาภูมิภาคโดยรวม นอกจากนี้โครงข่ายคมนาคมยังเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างต้นทางและปลายทางของสินค้า ซึ่งการมีโครงข่ายขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพจะช่วยให้การไหลเวียนของสินค้าเกิดความสะดวกรวดเร็ว ผลการวิจัยพบว่าการไหลเวียนของสินค้านำเข้า ได้แก่ ประเภทไม้แปรรูป พบว่าเป็นสินค้าสำคัญที่นำเข้ามากเป็นอันดับหนึ่งมีปลายทางที่จังหวัดอุบลราชธานี กรุงเทพมหานคร มุกดาหาร และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ ผลิตภัณฑ์จากไม้แปรรูป ประเภทพืชผักมีปลายทางที่จังหวัดอุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร ประเภทเศษเปลือกบงมีปลายทางที่กรุงเทพมหานคร ประเภทถ่านไม้มีปลายทางที่จังหวัดศรีสะเกษ และประเภทอุปโภค/บริโภคมีปลายทางที่จังหวัดอุบลราชธานี การไหลเวียนของสินค้าส่งออก ได้แก่ ประเภทน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและก๊าซหุงต้มจะมีแหล่งผลิตที่จังหวัดชลบุรี สินค้าประเภทอุปโภค/บริโภคมีต้นทางที่จังหวัดอุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร สำหรับสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างมีต้นทางที่จังหวัดอุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่จะมีแหล่งผลิตและวัตถุดิบที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีการนำเข้าปูนซีเมนต์มายังจังหวัดอุบลราชธานีอันก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากคอนกรีตสำเร็จรูป เพื่อส่งออกไปยังสปป.ลาว ผลกระทบของการไหลเวียนสินค้าผ่านชายแดนช่องเม็ก พบว่าอำเภอที่ได้รับอิทธิพลจากการค้าชายแดนด่านช่องเม็กและมีฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานีและอำเภอวารินชำราบ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research has the objective to study the influence of border trade of Chong Mek Area, Ubon Ratchathani Province by considering the physical, economical and social development, problems and their roles in Chong Mek Area, Ubon Ratchathani Province. The research studies trade influential area, linkage of products transportation network including the study of commodity flows. Data collection is conducted by the mean of questionnaire. The results are then analyzed to find the average value and the percentage. The research studies import and export of products by consider the flow of imported products using forward linkage study that is products that are raw material which used in continued industry process. For the flow of exported products the research studies the backward linkage to investigate the origin of production and source of raw materials. The impacts from imports and exports of products will result in regional development as a whole. Moreover, a communication network is media that link production transportation between origins and destinations. A high potential transportation networks will networks will affect the flow of commodities. The result found that the flow of imported products such as transforming woods which is the most imported with the destinations at Ubon Ratchathani Province. The others are Bangkok and Mukdaharn Province which resulted in continued industries from transforming woods. For the agricultural products which have destinations at Ubon Ratchathani Province and Bangkok. The bark has destination in Bangkok. The charcoal has destination at Srisaket Province. The consumer products have destination at Ubon Ratchathani Province. For the flows exported products such as, fuel lubricant and gas have production source at Chonburi Province. The exported consumer products have origins at Ubon Ratchathani Province and Bangkok. The construction products flows begin in Ubon Ratchathani Province and Bangkok which production and raw material sources from Saraburi Province, by taking cement into Ubon Ratchathani Province which resulted in continued industries, such as products from processed concrete for export to Lao PDR. The impact of commodity flows at Chong Mek Area found that the districts where are the most influenced by the border trade of Chong Mek Area are Muang and Warin chamrap District of Ubon Ratchathani Province. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาชนบท -- ไทย -- อุบลราชธานี | en_US |
dc.subject | อุบลราชธานี -- การค้า | - |
dc.subject | Rural development -- Thailand -- Ubon Ratchathani | - |
dc.subject | Ubon Ratchathani -- Commerce | - |
dc.title | อิทธิพลการค้าชายแดนที่มีต่อการพัฒนาภูมิภาค : กรณีศึกษาด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี | en_US |
dc.title.alternative | Influence of border trade on regional development : a case study of Chong Mek border area, Ubon Ratchathani Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาค | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Charuwan.L@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phannarat_ra_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch1_p.pdf | 757.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch2_p.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch3_p.pdf | 885.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch4_p.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch5_p.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_ch6_p.pdf | 887.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phannarat_ra_back_p.pdf | 813.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.