Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67512
Title: รูปแบบของชุมชนเสมือนในพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Virtual community patterns in the vicinity of Paholyothin subway stastion, Bangkok
Authors: วันเสด็จ แก้วดก
Advisors: ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Khaisri.P@Chula.ac.th
Subjects: ชุมชน
การศึกษาชุมชน
รถไฟใต้ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Communities
Community education
Subways -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนเสมือน เป็นนิยามใหม่ที่ใช้เรียกชุมชนที่เกิดขึ้นจากการพบปะกันของคนเดินเท้าในพื้นที่ใดขึ้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งไม่เฉพาะเจาะจง โดยที่สมาชิกของชุมชนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์กันทางสังคมในความหมายของชุมชนโดยทั่วไป ชุมชนเสมือนเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมของเมืองที่แสดงให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวาของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยมักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่หลากหลาย มีสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพที่เอื้อให้เกิดการสัญจรทางเท้าโดยกลุ่มคนหลากหลายประเภท วัตถุประสงค์ และช่วงเวลา ชุมชนเสมือนยังมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประโยชน์การใช้ที่ดินและอาคารอีกด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณที่ยังพัฒนาไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากชุมชนสมือนมักเกิดขึ้นในบริเวณจุดเปลี่ยนการสัญจรสำคัญภายในเมือง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแผนที่การบันทึกรูปแบบชุมชนเสมือนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ ของวัน ในพื้นที่รัศมีการเดินเท้าโดยรอบจุดขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพหลโยธิน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณแยกลาดพร้าวที่มีประโยชน์การใช้ที่ดินที่หนาแน่น แต่ยังมีพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาเหลืออยู่อีกบ้างในบางบริเวณ โดยทำการศึกษาและบันทึกรูปแบบของชุมชนเสมือน ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคมของพื้นที่โดยรอบจุดขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อประมวลผล และวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา แนวโน้ม และข้อจำกัดต่างๆ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางพัฒนาพื้นที่ เพื่อรองรับชุมชนเสมือน จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบต่างๆ ของชุมชนเสมือนได้อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนเสมือนเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในบริเวณทางเท้าที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดวัตถุประสงค์หลากหลายของการเข้าใช้ โดยกลุ่มคนประเภทต่างๆ ใน หลายช่วงเวลา โดยมีการจับจองพื้นที่สาธารณะอย่างหนาแน่นในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการสัญจร ซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ทางเท้าริมเส้นทางสัญจรหลัก ส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในพื้นที่ อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์ชุมชนเสมือนยังไม่ชัดเจนนัก การวางแผนพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเกิดชุมชนเสมือนนั้น ควรมีการดำเนินการในภาพรวมที่ทำให้เกิดความสอดคล้องระหว่างกิจกรรม และการสัญจร รวมทั้งตำแหน่งการจับจองพื้นที่สาธารณะต่างๆ เนื่องจากความขัดแย้ง ระหว่างลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ปัญหาการสัญจรทางเท้า รวมทั้งแนวโน้มของการลดลงของปรากฏการณ์ชุมชนเสมือน ปัจจัยทางกายภาพที่พบว่ามีผลมากต่อรูปแบบของชุมชนเสมือนได้แก่ ทางเข้า-ออกและเวลาเปิด-ปิดอาคารขนาดใหญ่ในพื้นที่ จุดขึ้น-ลงสถานีขนส่งสาธารณะต่างๆ ทิศทางการสัญจรเข้า-ออก เมืองในช่วงเช้า-เย็น ตำแหน่งและทิศทางการบังคับการสัญจรของสะพานลอย ขนาดทางเท้า และกิจกรรมจร เช่นหาบเร่ แผงลอย เป็นต้น ทั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนพื้นที่ดังกล่าวให้รองรับและสอดคล้องกับปัจจัยดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด
Other Abstract: Virtual community is a new term that has been used to define a social phenomenon that involves a co-presence of pedestrians in an urban place at any time non-specifically, whereby its members do not need to have any social relationship as those of a conventional community. Virtual community represents vibrancy and liveliness of a place in a city. The phenomenon normally occurs in a mix land use area whose urban quality encourages safe and pleasant walkable environment for various groups of people with multi-purpose activities in different times of day. Virtual community would also cause consequent effects on land use especially in under-developed areas in city. As virtual community also always occurs in major transport nodes in a city, this study aims to create an objective and systematic record, in a form of map, of the phenomenon within a walking distance around Bangkok's new Pahol Yothin Subway Station within different times of day, including weekdays and weekends. The area locates at a busy Lad Phrao Intersection whereby mix land use and some available vacant lands can be found within. The mapping is done in parallel with the analysis of the area's physical, social and economic characteristics in order to identify its urban potentials and constraints for development to support the effects of virtual community. Upon the literature review on related theoretical concepts and research papers, the empirical observation techniques are employed to record the phenomenon objectively. The findings suggest that the virtual community in the area evidently occurs in major pedestrian pathways especially where mix building uses align. Various groups of pedestrian and activities; moving and static, are presence in the area in different times of days. Static activities are evident especially in the transport interchange spots, normally along major roads. However, changes in land use are not clearly identified possibly because the subway station has not been opened for long enough. The study suggests that an urban plan to support the phenomenon of virtual community should be done holistically in order to create a unity of space and space uses to avoid spatial conflicts that would lead to the possible decrease of virtual community. It is also found that the spatial factors that greatly affect the presence of virtual community are; the location of main entrances / exits of large attractors in the area such as major commercial and office buildings including their opening and closing times; the location of transport interchange spots; the location and direction of pedestrian crossings and skywalks; the width of footpaths; the temporal street activities such as street vendors, performances, etc. As a result, the area development planning should include these factors into their detailed analysis before laying down a planning policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67512
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.330
ISBN: 9741438516
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.330
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wansadej_ka_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.13 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1898.75 kBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch2_p.pdfบทที่ 22.98 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch3_p.pdfบทที่ 35.84 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch4_p.pdfบทที่ 410.82 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch5_p.pdfบทที่ 53.41 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_ch6_p.pdfบทที่ 61.12 MBAdobe PDFView/Open
Wansadej_ka_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก740.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.