Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77800
Title: ปัจจัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์: คำอธิบายผ่านตัวแบบรัฐพัฒนา
Other Titles: Factors attributing to Singapore's economic development: the developmental state model explanation
Authors: มนณิกา ลิ้มธนากุล
Advisors: ณัฐนันท์ คุณมาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและแนวทางการดำเนินนโยบายของสิงคโปร์ รวมถึงยุทธศาสตร์การบริหารประเทศในสมัยพรรคกิจประชาและทำความเข้าใจถึงผลลัพธ์การใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขวิกฤติปัญหาจนสามารถพัฒนาและก้าวข้ามข้อท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ภายใต้ปัจจัยภายภายในคือการเป็นพหุสังคมหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์และภาษา ปัจจัยความกดดันจากภายนอกคือนโยบายแข็งกร้าวของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย สภาวการณ์ของสงครามเย็นและสงครามตัวแทนที่เกิดขึ้นใกล้ตัวในภูมิภาคจากความขัดแย้งของขั้วอำนาจเสรีนิยมและสังคมนิยม ความผันผวนในเศรษฐกิจโลกจากระบบทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงจากปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สาม ทำให้สิงคโปร์ประสบความยากลำบากในยุคสร้างชาติช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่ 20 โดยผู้วิจัยใช้กรอบการวิเคราะห์ผ่านตัวแบบรัฐพัฒนาในบริบทของคุณลักษณะพิเศษที่ทำให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จด้วยนโยบายโดย "รัฐ" เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างโดดเด่น รวมทั้งกระจายความเจริญไปสู่พลเมืองทุกระดับเท่าเทียมกันจนรัฐเกิดความชอบธรรมในการกุมอำนาจทางการเมือง ปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการเพื่อให้ภาครัฐสนับสนุนภาคธุรกิจได้อย่างเต็มที่ กระตุ้นการเจริญเติบโตผ่านนโยบายอุตสาหกรรมที่เลือกสรรโดยแนวทางของรัฐซึ่งเป็นความผสมผสานของนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถก้าวออกจากความเป็นรัฐด้อยพัฒนาในกลุ่มโลกที่สามด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสู่รัฐกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrialized Countries: NICs) และเป็นรัฐพัฒนา (developmental state) ได้ภายในระยะเวลาเพียง 3 ทศวรรษ จากการศึกษาปัจจัยจุลภาคยังพบว่า ภายใต้การบริหารของพรรคกิจประชาที่นำโดย นาย ลีกวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกซึ่งมีวิสัยทัศน์เต็มไปด้วยประสิทธิภาพและแนวทางเป็นเอกลักษณ์ นำไปสู่ความสำเร็จในเชิงประจักษ์ด้วยยุทธวิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์กับมหาอำนาจและประเทศเพื่อนบ้านอย่างลงตัว มีวิถีพัฒนาจากภายในสังคมโดยให้คุณค่าความรู้ความสามารถ (meritocracy) ใช้การปกครองรูปแบบผสม (hybrid regime) ที่เน้นประสิทธิภาพเพื่อความอยู่รอด สร้างความเข้มแข็งและเสถียรภาพทางการเมืองด้วยการเรียนรู้ทบทวนและปรับนโยบายอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาตามความเหมาะสมต่อสภาวการณ์ นำพาประเทศให้รอดพ้นจากสภาวะสงครามและวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ส่งผลให้สิงคโปร์ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งควรค่าแก่การเป็นปทัสถานให้กับรัฐที่อยู่ในเส้นทางการพัฒนาได้อย่างดียิ่ง
Other Abstract: This independent study analyzes the dynamic factors attributing to Singapore's economic development under People's Action Party (PAP) and the successful results to overcome the geopolitics challenges. Singapore faces many internal difficulties of limited geography and multiethnic compositions. Externally, the neighbors' policies from Indonesia and Malaysia, Cold war, proxy wars in the region from democracy and communism ideology conflicts, challenges in the world economy and third industrial revolutions in the latter half of the twentieth century, had exerted tremendous pressure on Singapore. Supporting the Developmental State model explains a unique context that "state" enables Singapore to successfully achieve outstanding policy implementation with miracle growth, equally spreading prosperity to citizens at all levels which makes the state gains legitimacy, through imposing credible commitments and sanctions on the right culprits by restructuring the bureaucratic system and industrial economic policies to enable and stimulating growth of the business sector. These allow Singapore to elevate its status from a Third World country to become a newly industrialized country (NIC) and a developmental state in just three decades. From the additional study of microscopic factors, it demonstrates that Singapore under the first Prime Minister, Mr. Lee Kuan Yew's administration, has achieved a miracle of success from his vision of utilizing strategies coupled with an efficient unique approach, not only in foreign policies but also "meritocracy" system to develop the bureaucracy and social from within. Implementing "hybrid regime" typology to balance and emphasize efficiency for the country's survival with political strength and stability. Periodically reviewing and modifying the policies based on current and consequential challenges, leading the country out of the dire situation of war and several economic crises with high recognition. Thus, this abstract should serve as an exemplary example for other developing countries to replicate Singapore's developmental policies in a sustainable manner.
Description: สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77800
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.283
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.283
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280106224.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.