Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78493
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วันทนีย์ พุกกคุปต์ | - |
dc.contributor.advisor | สมพร ชัยอารีย์กิจ | - |
dc.contributor.author | วิภาวี เข็มเฉลิม | - |
dc.contributor.author | อารียา จันทร์บาง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-05-02T01:47:23Z | - |
dc.date.available | 2022-05-02T01:47:23Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78493 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | เปเปอร์ครีต (Papercrete) คือ วัสดุก่อสร้างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับคอนกรีต มีความแข็งแรงน้ำหนักเบาและราคาถูก จึงถือได้ว่าเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ในการกระบวนการผลิต ส่วนผสมที่ใช้ในการทำเปเปอร์ครีตจะประกอบด้วย ปูนซีเมนต์ ทราย และเยื่อกระดาษ โดยกระดาษที่นำมาใช้จะเป็นกระดาษรีไซเคิล ทำให้สามารถลดปัญหาการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองและลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์ในการศึกษาและเปรียบเทียบผลของกากกระดาษฉลากและกระดาษพิมพ์เขียนใช้แล้วในการทำเปเปอร์ครีต การทดลองจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 แช่เยื่อในน้ำด่างเพื่อให้เยื่อเกิดการแตกตัว พร้อมทั้งนำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นกระดาษ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์สมบัติและการผลิตเปเปอร์ครีต ขั้นตอนที่ 2 ทำการหาอัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อทรายที่พบว่าอัตราส่วนอยู่ที่ 0.75 : 1 ปริมาณสารช่วยไหลตัว 0.5 %โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิปกติและอัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์อยู่ที่ 0.35 ซึ่งมีค่าความแข็งแรงสูงและมีค่าความแปรปรวนโดยน้ำหนักต่ำ ขั้นตอนที่ 3 ผสมเยื่อในอัตราส่วน 10 20 และ 30% โดยน้ำหนัก ทำการบ่มที่ระยะเวลา 1 3 7 และ 14 วัน ในสภาวะเปียกและวิเคราะห์ลักษณะสมบัติ พบว่าในการผสมกระดาษใช้แล้วลงในเปเปอร์ครีตส่งผลให้มีค่าความหนาแน่นและค่าความต้านทานกำลังอัดลดลงอีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรมากเมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ เปเปอร์ครีตที่มีการผสมกระดาษ 10% โดยน้ำหนักจึงมีความแข็งแรงมากที่สุด เปเปอร์ครีตที่มีการผสมเยื่อกากกระดาษฉลากมีค่าความต้านทานกำลังอัดเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการบ่มและมีค่าสูงสุดอยู่ที่ระยะเวลาบ่ม 14 วัน โดยมีค่าอยู่ที่ 3.55 MPa ส่วนกระดาษพิมพ์ใช้แล้วเขียนมีแนวโน้มไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันที่ระยะเวลาการบ่มเดียวกัน เนื่องจากมีความไม่ชอบน้ำต่างกัน เปเปอร์ครีตที่มีการผสมเยื่อกระดาษฉลากจึงเหมาะสมกับการนำมาใช้งานมากกว่าเยื่อกระดาษพิมพ์เขียนใช้แล้วเพราะมีความแข็งแรงสูงกว่า มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรน้อยกว่าเหมาะสมกับการนำไปใช้งานเป็นวัสดุก่อสร้างมวลเบาภายในอาคาร | en_US |
dc.description.abstractalternative | Papercrete is a construction material similar to concrete. It is fairly strong lightweight, and low cost. It is considered as one of the environmentally friendly building materials. Papercrete mixes basically consist of Portland cement, sand and pulps derived from recycled papers. This research described a viability of using printing/writing and label paper wastes in papercrete composites. To make a papercrete, three steps were undergone. Firstly, both types of paper were soaked in alkali solution to soften paper and turn them to fibers. Forming the handsheets to see how different types of fiber could affect papercrete properties was carried out. Secondly the ratio of cement to sand was investigated then it was found that a ratio of cement to sand of 0.75:1 with superplasticizer 5 wt% of them and the water/cement ratio of 0.35 made highest compressive strength with low fluctuation. Thirdly, three mixes with 10, 20 and 30wt% of fibers were prepared. They were cured for 1, 3, 7, and 14 days in a damp, ambient conditioner. The experimental results showed that a papercrete with used printing/writing fibers had low density and compressive strength but owned higher percent volume change compared with a normal concrete. With 10 wt% fibers, the obtained papercrete had highest compressive strength. An increase in compressive strength depended on curing times. The label-containing papercrete yielded highest compressive strength of 3.55 MPa when cured for 14 days. Meanwhile, those with printing/writing fibers did not follow this trend due to their different hydrophobicity. So, papercretes with label waste seemed to be more applicable to use as a lightweight, indoor construction material. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระดาษใช้แล้ว -- การนำกลับมาใช้ใหม่ | en_US |
dc.subject | Waste paper -- Recycling | en_US |
dc.title | การใช้กระดาษพิมพ์เขียนใช้แล้วและกากกระดาษฉลากบรรจุภัณฑ์ในวัสดุเชิงประกอบเปเปอร์ครีต | en_US |
dc.title.alternative | Use of printing/writing and label paper wastes in papercrete composites | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-MATSCI-007 - Vipavee Khemchaloem.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.