Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83520
Title: การปฏิรูปพระพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 : การกำหนดกรอบคุณค่าและแนวทางปฏิรูปพระพุทธศาสนาในสังคมไทย : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: The Reformation of Buddhism in the Reigns of king Rama IV and V : Determining Values and Guidelines for Buddhist Reformation in Thai Society
Authors: สุรพศ ทวีศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา
Subjects: การปฏิรูปพุทธศาสนา
พุทธศาสนากับสังคม
Issue Date: 2562
Publisher: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 เปรียบเทียบกับการ ปฏิรูปคริสต์ศาสนาในยุโรป เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่า ผลของการปฏิรูปพุทธศาสนานำมาสู่การกำหนดกรอบ คิดเกี่ยวกับคุณค่าของพุทธศาสนาต่อรัฐและสังคมอย่างไร และกรอบคิดดังกล่าวนั้นถูกประยุกต์ใช้ในการ ปฏิรูปพุทธศาสนายุคปัจจุบันอย่างไร ปัญหาหลักคือไร และควรแก้ไขอย่างไร โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาโดยสรุปดังนี้ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ชนชั้นนำสยามกับบาทหลวงและมิชชันนารีมีวิวาทะและ เปรียบเทียบระหว่างพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนาเป็นปกติอยู่แล้ว แต่เป็นวิวาทะและการเปรียบเทียบเพื่อ เน้นว่าศาสนาของฝ่ายตนมีเหตุผลและน่าเชื่อถือมากกว่า งานศึกษานี้พบว่ามีด้านที่เหมือนกันคือการ อ้างอิงคัมภีร์ศาสนารองรับความชอบธรรมในปฏิรูปเหมือนกัน และเกี่ยวข้องกับการเมืองเหมือนกัน แต่ด้านที่ต่างกันโดยนัยสำคัญคือ ขบวนการปฏิรูปคริสต์ศาสนาเกิดจากความขัดแย้งและการท้า ทายอำนาจผูกขาดของศาสนจักรโรมันคาธอลิก นำไปสู่กำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์และนิกายย่อยอื่นๆ ตามมา ขณะเดียวกันก็ถูกท้าทายจากแนวคิดมนุษยนิยม, เสรีนิยม, โลกวิสัย และขบวนการทำให้เป็นโลก วิสัยในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการและยุคแสงสว่างทางปัญญา จึงส่งผลให้เกิดการแยกศาสนจักรกับรัฐ และทำ ให้รัฐคริสเตียนสิ้นสุดลง แทนที่ด้วยรัฐโลกวิสัยในยุคสมัยใหม่ ที่ยึดถือกรอบคิดว่ารัฐต้องเป็นกลางใน ประเด็นทางศาสนา และให้หลักประกันสิทธิเท่าเทียมทางศาสนาอย่างแท้จริง ขณะที่การปฏิรูปพุทธ ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการต่อรองทางการเมืองระหว่างชนชั้นนำ และไม่ได้ถูกท้าทายจากแนวคิดมนุษย นิยม, เสรีนิยม, โลกวิสัย และขบวนการทำให้เป็นโลกวิสัย จึงทำให้พุทธศาสนากับรัฐถูกผนึกรวมเป็นหนึ่ง เดียวภายใต้อุดมการณ์ “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” อุดมการณ์ดังกล่าวนี้กลายเป็นรากฐานของกรอบ คิดที่กำหนดว่าพุทธศาสนาควรมีคุณค่าในฐานะเป็นเครื่องมือสนับสนุนอุดมการณ์รัฐและเป็นรากฐานของ ศีลธรรมทางสังคม กรอบคิดนี้ยังคงถูกอ้างอิงในการปฏิรูปพุทธพุทธศาสนามาจนกระทั่งปัจจุบัน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ให้เห็นว่า บริบทของรัฐพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 แตกต่าง อย่างสิ้นเชิงกับบริบทสังคมสมัยใหม่ที่มีลักษณะเป็นสังคมโลกวิสัย ดังนั้น การอ้างอิงกรอบคิดการปฏิรูป พุทธศาสนาในอดีตมาสนับสนุนการปฏิรูปในปัจจุบัน จึงอาจทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานสำคัญต่างๆ ตามมา เช่น ทำให้รัฐไม่เป็นกลางทางศาสนา, พุทธศาสนาถูกกำหนดให้เกี่ยวข้องกับการเมืองในทางที่เป็นอุปสรรค ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย, ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนา, ทำให้พุทธ ศาสนาขาดความหลากหลายและพัฒนาคลี่คลายไปในทิศทางที่สอดคล้องกับประชาธิปไตยและสิทธิ มนุษยชน เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำแนวคิดโลกวิสัยและเสรีนิยมมาอภิปรายและเสนอให้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปฏิรูปพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันและอนาคต
Other Abstract: This research investigates the reformation of Buddhism during the Reigns of King Rama IV and V vis-a-vis the reformation of Christianity in Europe in order to analyze from a comparative perspective the effects of the reformation in the Thai context that led to embedding or linking the values of Buddhism directly to the state and society as a whole. The research further analyzes how the concept of linking religion to state has been continually being applied in reforming present-day Buddhism in Thailand, the main resultant problems that have arisen from this deliberate linking, and how those problems can be solved. This is a documentary research and the results of it are summarized as follows: During the reigns of King Rama IV and V, the Siamese elites, Buddhist priests and Christian missionaries had regular discussions to compare Buddhism and Christianity. However, most of the discussions were about proving whose religion was better in terms of rationality. The study shows that the discussions had similarities like references by either group to its own religious text to justify the reforms and relating the same to politics. But the significant difference was that the movement of Christian reformation arose from conflict and challenging of the monopoly power of the Roman Catholic Church leading to the birth of Protestantism and other sub-sects. The authority of the Church had also been challenged by the concept of humanism, liberalism, secularism, and secularization in the Renaissance and the Enlightenment era, thus resulting in separation of church and state and the end of the Christian state. In the modern era, the Christian state is replaced with a secular state where it upholds the concept of state being neutral when it comes to religious issues and guarantees equal rights of religion to everyone. Contrary to this, the Buddhist reformation is one of political negotiations between the elites and is not challenged by the concepts of humanism, liberalism, secularism, and secularization, causing Buddhism and the state to merge under the ideology of “Nation, Religion, King”. This ideology became the root cause of exploitation and appropriation of Buddhism as a tool for the ideological state apparatus and upholding it as the root of social morals. The researcher shows that the context of Buddhist state in the reigns of King Rama IV and V is completely different from the one in the modern world, which has characteristics of a secular society. Therefore, citing the concept of Buddhist reformation in the past to justify the present reformation may result in fundamental problems such as the state not being neutral in religions, Buddhism is used as a tool to be a hindrance for democracy, problems in freedom and equality of religions, making Buddhism lack in diversity and preventing it from developing in conformity with democracy and human rights. To solve these problems, the researcher brought in the concepts of secularism and liberalism to discuss and propose the alternative for Buddhist reformation in Thai society, in the present and for the future.
Description: การปฏิรูปคริสต์ศาสนาและการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมโลกวิสัย -- ปรัชญาการเมืองแบบพุทธและรัฐพุทธศาสนา -- การปฏิรูปพุทธศาสนาสมัยรัชกาลที่ 4-5 กับคุณค่าของพุทธศาสนาต่อรัฐและสังคมไทยสมัยใหม่ -- อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา -- อภิปรายปัญหาและเสนอแนวทางปฏิรูปพุทธศาสนา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83520
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2019.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.RES.2019.2
Type: Technical Report
Appears in Collections:CUBS - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapot_Ta_Res_2563.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.