Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83953
Title: ผลของโปรแกรมการเต้น ซี แอนด์ ซี ต่อการเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรมของเด็กวัยอนุบาล
Other Titles: Effects of the c & c dance program on executive function in preschool children
Authors: อริสรา แก้วม่วง
Advisors: พรรณระพี สุทธิวรรณ
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโปรแกรมการเต้น ซี แอนด์ ซี ที่มีต่อการเสริมสร้างความสามารถทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรม (EF) ของเด็กวัยอนุบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็ก ชั้นอนุบาล 2 ทั้งหมด 60 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยวิธีการจับคู่เด็ก ที่มีคะแนนความสามารถทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรม (EF) โดยรวม จากการประเมิน หัว-เท้า-เข่า-ไหล่ ในช่วงก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมใกล้เคียงกัน เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทีละคู่ โดยให้เด็กกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการเต้น ซี แอนด์ ซี รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง ในขณะที่เด็กกลุ่มควบคุมทำกิจกรรมตามปกติในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความแปรปรวนสองทางแบบผสม ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมการเต้น ซี แอนด์ ซี ส่งผลต่อคะแนนความสามารถ ทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรม (EF) โดยรวม จากการประเมิน หัว-เท้า-ไหล่-เข่า ของเด็กกลุ่มทดลอง สูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 แต่ไม่ส่งต่อคะแนนความสามารถทางปัญญาในการจัดการพฤติกรรม (EF) แยกองค์ประกอบ การยับยั้งพฤติกรรม ความจำเพื่อใช้งาน และการยืดหยุ่นทางความคิด จากการประเมิน Early Years Toolbox (EYT)
Other Abstract: The objective of this research was to investigate the effects of the C & C dance program on executive function in 60 preschool children. Participants were randomly assigned to experimental and control groups using a matched-pair design by the Head-Toe-Knee-Shoulder Task. The experimental group participated in the C & C dance program for 24 sessions. Data was analyzed with a two-way mixed ANOVA. The results show that after completing the C & C dance program, the experimental group had a significant increase in overall executive function when assessed with the Head-Toe-Knee-Shoulder task compared to before participating in the program and significantly higher than the control group. However, the program had no effects on components of executive function, such as inhibitory control, working memory, and cognitive flexibility, as assessed by the Early Years Toolbox (EYT)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/83953
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6470054538.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.