Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84172
Title: | อุปลักษณ์ในวาทกรรมการเมืองไทยในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562: การวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงวิพากษ์ |
Other Titles: | Metaphors in Thai political discourse during the campaign for the 2019 general election of members of the house of representatives: a critical metaphor analysis |
Authors: | นิภาดา โพธิ์เรือง |
Advisors: | ศิริพร ภักดีผาสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ในประเทศไทยมีการแข่งขันทางการเมืองสูงและมีความพยายามแบ่งแยกฝ่ายทางการเมือง จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าในการหาเสียงเลือกตั้ง นักการเมืองไทยใช้อุปลักษณ์เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการต่อสู้แข่งขันทางความคิด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนอุปลักษณ์ที่สะท้อนจากถ้อยคำอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ในวาทกรรมการเมืองในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ตามแนวคิด มโนอุปลักษณ์ (Conceptual Metaphor Theory) อุปลักษณ์วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (Critical Metaphor Analysis) ฉากทัศน์อุปลักษณ์ (Metaphor Scenario) และการผสานมโนทัศน์ (Conceptual Blending Theory) งานวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ การปราศรัย การประชันวิสัยทัศน์ การให้สัมภาษณ์ และบทเพลงประจำพรรคการเมือง ที่เผยแพร่ระหว่างวันที่ 23 มกราคม - 23 มีนาคม พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง ผลการศึกษาพบถ้อยคําอุปลักษณ์ทั้งหมด 1,623 ถ้อยคํา จําแนกได้เป็น 17 กลุ่มมโนอุปลักษณ์ และ 34 ฉากทัศน์อุปลักษณ์ มโนอุปลักษณ์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ มโนอุปลักษณ์ [การเมือง คือ การเดินทาง] ผลการวิเคราะห์ อุปลักษณ์ตามแนวคิดอุปลักษณ์วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ พบว่านักการเมืองใช้ อุปลักษณ์นำเสนอแนวความคิดที่นักการเมืองนำเสนอให้ฝ่ายตนเองมีความชอบธรรมและมีความได้เปรียบทางการเมือง จำนวน 5 แนวคิด ได้แก่ 1) นักการเมืองคือผู้นำหรือวีรบุรุษที่มีความสามารถ 2) นักการเมืองคือผู้เป็นที่พึ่ง ผู้มีเมตตา ผู้อุปถัมภ์ค้ำชู 3) นักการเมืองคือผู้มีความรู้น่าเชื่อถือ 4) นักการเมืองคือผู้แก้ไขและบริหารจัดการสังคม 5) นักการเมืองฝ่ายตนคือผู้ที่ปรารถนาดีและพร้อมจะมอบสิ่งดีให้ประชาชน แนวคิดที่ใช้ลดความชอบธรรมของนักการเมืองฝ่ายอื่น จำนวน 4 แนวคิด ได้แก่ 1) นักการเมืองฝ่ายอื่นเป็นคนขี้โกงและเต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง 2) นักการเมืองฝ่ายอื่นเป็นผู้ด้อยความสามารถ 3) นักการเมืองฝ่ายอื่นคือผู้สร้างความเดือดร้อนแก่ชีวิตประชาชน 4) นักการเมืองฝ่ายอื่นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และนำเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการเมืองไทย จำนวน 6 แนวคิด แบ่งเป็นการใช้เพื่อสร้าง/ลดทอนความชอบธรรมระหว่างกลุ่มการเมือง จำนวน 3 แนวคิด ได้แก่ 1) การเมืองตามแนวทางประชาธิปไตยนำไปสู่ความขัดแย้ง จำเป็นต้องใช้กลไกอื่นเพื่อก้าวข้ามและนำพาประเทศให้ผ่านพ้นอุปสรรค 2) การเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ 3) การเมืองแบบเก่าล้าหลัง การเมืองแบบใหม่คือความหวัง และแนวคิดที่ใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชน จำนวน 3 แนวคิด ได้แก่ 1) ประชาชนคือผู้มีอำนาจเฉกเช่นนักการเมือง 2) การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมือง และ 3) ประชาชนควรเชื่อฟังนักการเมือง เพราะนักการเมืองเป็นผู้มีความชอบธรรมในการควบคุมประชาชน ข้อสังเกตเชิงวิพากษ์ต่อการใช้อุปลักษณ์ของนักการเมืองไทยในวาทกรรมการเมืองช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พบการใช้อุปลักษณ์ในการสร้างหรือลดความชอบธรรมต่อตัวนักการเมืองอย่างชัดเจน การสร้างความรู้สึกแง่ลบต่อแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างด้วยอุปลักษณ์ที่มีลักษณะกล่าวเกินจริง ความย้อนแย้งของการใช้อุปลักษณ์เพื่อนำเสนอแนวคิดทางการเมือง และมีความคิดเชิงครอบงำที่แฝงมากับอุปลักษณ์การเมือง ในมุมมองเชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอุปลักษณ์ในวาทกรรมการเมืองเป็นเครื่องมือที่นักการเมืองใช้นำเสนอว่าฝ่ายตนเองเป็น “ตัวเลือกที่เหมาะสม” และ “แนวทางที่ถูกต้อง” เพื่อโน้มน้าวใจประชาชน และนำไปสู่การได้อำนาจทางการเมือง นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์ที่นักการเมืองใช้แสดงให้เห็นว่า ในมุมมองของนักการเมือง การเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองและนักการเมืองมีความชอบธรรมที่จะควบคุมและชี้นำประชาชน |
Other Abstract: | The 2019 general election in Thailand was marked by high political competition and attempts to divide political parties. From a preliminary study of the election campaign, it was found that Thai politicians adopted metaphors as an important method in the battle of ideas. This research therefore aims to study the conceptual metaphors reflected from the linguistic metaphors used by Thai politicians in political discourse during the 2019 general election campaign by adopting the conceptual frameworks of Conceptual Metaphor Theory, Critical Metaphor Analysis, Metaphor Scenario, and Conceptual Blending Theory. Four groups of political discourse were collected including speeches, debates, interviews, and political party songs. These data groups were published during the period between 23 January and 23 March 2019, which was designated as the election campaign. The results of the study found a total of 1,623 metaphorical expressions, classified into 17 conceptual metaphors and 34 metaphor scenarios. The most common metaphor was [POLITICS IS A JOURNEY]. The results of the metaphor analysis according to the concept of critical analytical metaphor found that politicians use metaphors to present 5 concepts that give their side legitimacy and political advantage: 1) Politicians are capable leaders or heroes. 2) Politicians are dependable, benevolent, and supportive. 3) Politicians are those with reliable knowledge. 4) Politicians are those who renovate and manage society. 5) Politicians on their side are those who have good intentions and are ready to give good things to the people. There are 4 ideas used to reduce the legitimacy of politicians on other sides: 1) Politicians on the other sides are cheaters and full of tricks and deception. 2) Politicians on other sides are incompetent. 3) Politicians from other sides are the ones who create trouble in people's lives. 4) Politicians from other sides are disgusting. In addition, 6 concepts were presented regarding Thai politics, divided into 3 concepts used to create/reduce legitimacy between political groups: 1) Democratic politics leads to conflict, so there is a need for other solutions to overcome and lead the country to overcome obstacles. 2) Changes in political power are a normal thing that can happen. 3) The old form of politics is backward, but the new form of politics is hope. There are 3 concepts used to define the relationship between politicians and the people: 1) The people are those who have power like politicians. 2) Politics is simply a matter of politicians and 3) People should obey politicians because politicians have the rightful authority to control the people. A critical observation on the use of metaphors by Thai politicians in political discourse during the 2019 general election campaign for members of the House of Representatives found that metaphors were clearly used to create legitimacy for their side and using metaphors to delegitimize other politicians, creating negative feelings towards different political ideas with exaggerated metaphors, the paradox of using metaphors to present political ideas, and has obsessive ideas hidden in political metaphors. From a critical perspective, the analysis reveals that metaphors in the political discourse were adopted as a device for the politicians to present themselves as “the right choices” and “the right ways” in order to persuade the voters and to earn them political power. In addition, the metaphor analysis indicates that according to the politicians, politics is simply the matter of the politicians and the politicians can legitimately take control over the people. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84172 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180505522.pdf | 6.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.