Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18900
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญมี เณรยอด | - |
dc.contributor.author | วิชัย วนาพรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-31T04:53:14Z | - |
dc.date.available | 2012-03-31T04:53:14Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18900 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ในเขตการศึกษา 12 3. เพื่อเปรียบเทียบระดับจริยธรรมของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 4. เพื่อเปรียบเทียบระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 กับระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2523 ซึ่งวิจัยไว้โดยกองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ สมมติฐานในการวิจัย 1. ระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 ของโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลแตกต่างกัน 2. ระดับจริยธรรมของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 12 การสุ่มตัวอย่างประชากรทำเป็น 2 ขั้นตอน คือ สุ่มโรงเรียนแบบแบ่งชั้น (Stratifield random sampling) โดยแบ่งโรงเรียนออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล แล้วสุ่มนักเรียนแบบมีระบบ (systematic random sampling) จากโรงเรียนระดับจังหวัด 365 คน ระดับอำเภอ 367 คน และระดับตำบล 361 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 1,093 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเชิงสถานการณ์ (situation test) และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของจริยธรรมของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงโดยใช้ t-test และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยใช้ One-way ANOVA โดยโปรแกรมสำเร็จรูป สรุปผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยและระดับจริยธรรมแต่ละด้านของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 มีเพียงจริยธรรมด้านหิริโอตัปปะ ของนักเรียนชายด้านเดียวที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 2. ค่าเฉลี่ยและระดับจริยธรรมแต่ละด้านของนักเรียนในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3 มีจริยธรรมด้านหิริโอตัปปะเพียงด้านเดียวที่นักเรียนในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 3. ค่าเฉลี่ยของคะแนนจริยธรรมแต่ละด้านของนักเรียนในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน มีจริยธรรมเพียง 2 ด้านที่ค่าเฉลี่ยของคะแนนจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบลแตกต่างกัน คือ จริยธรรมด้านสติสัมปชัญญะ ค่าเฉลี่ยของคะแนนของโรงเรียนระดับจังหวัดแตกต่างกับโรงเรียนระดับตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 และจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ค่าเฉลี่ยของคะแนนของ โรงเรียนระดับอำเภอ แตกต่างกับโรงเรียนระดับตำบลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 4. ค่าเฉลี่ยของคะแนนจริยธรรมแต่ละด้านของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 มีจริยธรรม เพียงด้านเดียวที่ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน คือ ความไม่ประมาท 5. ค่าเฉลี่ยของคะแนนจริยธรรมแต่ทุกด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนจริยธรรมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2523 ในเขตการศึกษา 12 ระดับจริยธรรมแต่ละด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเดียวกับระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2523 ในเขตการศึกษา 12 ยกเว้นจริยธรรมด้านการใฝ่สัจจธรรมเพียงด้านเดียวที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2526 อยู่ในระดับ 3 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2523 อยู่ในระดับ 2 | - |
dc.description.abstractalternative | Objectives: The objectives of this study were as follows: 1. To study the morality level or Mathayom Suksa Three students in Educational Region Twelve, who were studying during the 2526 academic year 2. To compare the morality level of Mathayom Suksa Three students from schools categorized into three categories namely provincial, municipal, and district in Educational Region Twelve. 3. To compare the morality level of Mathayom Suksa Three students between schoolboys and schoolgirls in Educational Region Twelve. 4. To compare the morality level of Mathayom Suksa Three students who are studying during the 2526 academic year with those who were studying during the 2523 academic year which was researched by Educational Research Division, Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education. Hypotheses: 1. There will be a significant difference in the morality level of Mathayom Suksa Three students from schools of three categories in Educational Region Twelve. 2. There will be a significant difference in the morality level of schoolboys and schoolgirls in Mathayom Suksa Three in Educational Region Twelve. Procedures: The sample used in this study composed of 365 Mathayom Suksa Three students from schools at provincial level, 367 at municipal level, and 361 at distric level in Educational Region Twelve. They were selected by stratified random sampling technique which make the total sampling to be 1093 in numbers. The instrument used in this study was a situation tests from Educational Research Division, Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education, which was developed by a Thai Morality Education project team undertaken by this department. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, t – test, and One – way ANOVA. Findings: The score averages and the morality levels of Mathayom Suksa Three student between schoolboys and schoolgirls in Educational Region Twelve during the 2526 academic year mostly were equivalent to level three. There is only one morality called moral conscience that the score average of schoolboys is equivalent to level two. The score averages and the morality levels of each morality concerned from those of students in schools at provincial level, municipal level, and district level mostly were equivalent to level Three, only the moral conscience of those students showed the average which equivalent to level two. The score averages of each morality concerned from those of students in schools at all levels mostly were not significant difference. There is significant difference in score averages concerning moral consciousness between those of students in schools at provincial level and district level at the .05 level. Also at the same level a significant difference was shown between the score averages of students in schools at municipal level and those in district level. The score averages concerning each morality concerned between schoolboys and schoolgirls mostly were significant difference at the .05 level, only the moral consciousness did not show a significant difference. The score average of every moral concerned from those of students in the 2526 academic year were higher than those of students in the 2523 academic year. Concerning the morality level of every morality concerned they were at the same level except the moral truth which was elevated from level two tot level three. | - |
dc.format.extent | 580566 bytes | - |
dc.format.extent | 712496 bytes | - |
dc.format.extent | 1179662 bytes | - |
dc.format.extent | 383146 bytes | - |
dc.format.extent | 652403 bytes | - |
dc.format.extent | 702425 bytes | - |
dc.format.extent | 516398 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศีลธรรมจรรยา | en |
dc.subject | นักเรียน -- วิจัย | en |
dc.title | ระดับจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 12 ปีการศึกษา 2526 | en |
dc.title.alternative | Morality level of mathayom sukdsa three students in educational region twelve, academic year 2526 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Boonmee.n@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichai_Wa_front.pdf | 566.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_ch1.pdf | 695.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_ch2.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_ch3.pdf | 374.17 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_ch4.pdf | 637.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_ch5.pdf | 685.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Wa_back.pdf | 504.29 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.