Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีชา หงษ์ไกรเลิศ-
dc.contributor.advisorลาวัลย์ วิทยาวุฑฒิกุล-
dc.contributor.authorสุภัตรา คล้ายคุ้ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-27T10:38:37Z-
dc.date.available2012-11-27T10:38:37Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26433-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง และเพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของครู เช่น เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการสอนและเพื่อศึกษาการปฏิบัติของครูสังคมศึกษาที่แสดงถึงความสนใจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนในทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 232 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) มีคำตอบ 5 ระดับ จำนวน 84 ข้อ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต [x-bar] ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าซี (z-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One way Analysis of Variance) สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองส่วนใหญ่เห็นด้วยในเกณฑ์มากว่า การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยนั้น ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ และเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดในการปกครอง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองจะต้องมีการจำกัดการปฏิบัติตนไว้ตามสมควรและการเลือกตั้งเป็นวิธีหนึ่งที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่โดยส่วนรวมครูสังคมศึกษาไม่สนับสนุน หรือคัดค้านต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และเห็นด้วยในเกณฑ์มากว่า การควบคุมบางประการของรัฐบาล สามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าจะให้เสรีภาพจนเกินขอบเขต และการเลือกตั้งที่ถูกควรเลือกพรรคการเมืองมากกว่าตัวบุคคล ในการเปรียบเทียบความคิดเห็นพบว่า ครูสังคมศึกษาชายและหญิงมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ครูสังคมศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการสอนสังคมศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในทางปฏิบัติที่แสดงถึงความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองพบว่าครูสังคมศึกษาส่วนใหญ่สอนหรือแนะนำการใช้สิทธิเลือกตั้งแก่นักเรียนและคนอื่นๆ ในเกณฑ์มากแสดงความสนใจต่อรัฐธรรมนูญอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และส่วนใหญ่ไม่เคยทำงานร่วมกับนักการเมือง-
dc.description.abstractalternativePurposes This thesis attempts to examine the opinions on political participation of the social studies teachers, to study different factors effected their opinions, such as sexes, educational background and teaching experiences, and to study the teachers participation in democracy. Procedures Two hundred and thirty-two secondary school social studies teachers in Bangkok Metropolis were randomly sampled. The Liker’ rating-scale questionnaire with 84 items of teachers’ opinions on political participation constructed by the writer was administered to the subjects selected. The results of the questionnaire were analysed by arithmetic mean, standard deviation, z-test and one way analysis of variance. Conclusion The results of the study were as follows:- The majority of the social studies teachers highly agreed that power in a democratic government flows from the people and back to the people. However, the participation must be limited within the law, and voting is a basic means of the participation in political system. As a whole, the teachers neither supported nor objected current constitution. The teachers accepted that the partly control of the government will be able to solve problems far better than to give too much liberty. The right way in election is to justify on political parties rather than each candidate. To study comparatively the factors effected their opinions; it was found that the social studies teacher’s opinions on political participation of both male and female were not significantly different at the level of .05. There were also no statistically significant differences on opinions in political participation of social studies teachers of different teaching experiences at the .05 level, while the opinions of the social studies teachers from different educational backgrounds were significantly different at the level of .05. The teachers highly showed their interest in political participation by demon strating and encouraging the students and other people in voting. However, their interest in constitution was average. Most of them had never been associated with the politicians.-
dc.format.extent380207 bytes-
dc.format.extent551039 bytes-
dc.format.extent687160 bytes-
dc.format.extent336985 bytes-
dc.format.extent773485 bytes-
dc.format.extent700256 bytes-
dc.format.extent806349 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยen
dc.title.alternativeSocial studies teachers' opinions concerning political participation in democracyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supatra_Kl_front.pdf371.3 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_ch1.pdf538.12 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_ch2.pdf671.05 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_ch3.pdf329.09 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_ch4.pdf755.36 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_ch5.pdf683.84 kBAdobe PDFView/Open
Supatra_Kl_back.pdf787.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.