Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพรรณ โคตรจรัส
dc.contributor.authorยุพิน พูลผล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-07-02T04:55:03Z
dc.date.available2013-07-02T04:55:03Z
dc.date.issued2534
dc.identifier.isbn9745790206
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32655
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมพัฒนาการทางอาชีพต่อวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพมงคลรังษี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบมีจุดมุ่งหมาย (purposive sampling) เป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมกิจกรรมพัฒนาการทางอาชีพ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง 40 นาที รวม 10 ครั้ง โดยมีผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดวุฒิภาวะทางอาชีพ มาตรวัดทัศนคติ และแบบวัดความสามารถในการเลือกอาชีพ ของจอห์น โอ ไครท์ส ซึ่งแปลและเรียบเรียงโดย ดร. พรรณราย ทรัพยะประภา ใช้การวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest – Posttest Control Group Design) วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพ จากการทดสอบก่อนการทดลอง และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และทดสอบโดยใช้ค่าที (t – test) ผลการวิจัยปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมพัฒนาการทางอาชีพ มีคะแนนวุฒิภาวะทางอาชีพในมาตรวัดทัศนคติและแบบวัดความสามารถในการเลือกอาชีพทุกด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of a program of career development activities on the career maturity of mathayom suksa three students at Thepmongkolrungsri School, Kanchanaburi. The subjects were assigned through purposive sampling to two groups, each group comprising 10 students for a total of 20 students. The experimental group participated in a program of career development activities, 2 sessions per week, for a total of 10 sessions of one hour and forty minutes each under the direction of the researcher. The instrument used for the research was “The Attitude Scale and the Competence Test of the Career Maturity Inventory.” Constructed by John O. Crites and translated by Dr. Parnarai Sapayaprapa. The pretest – posttest control group design was used. The data were analysed using the t – test. Results indicated that students undergoing a program of career development activities showed a greater increase in career maturity scores on all parts of the Competence Test and on the Attitude Scale than those in the control group, significant at the .01 level.
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลของโปรแกรมกิจกรรมพัฒนาการทางอาชีพต่อวุฒิภาวะทางอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3en
dc.title.alternativeEffects of a program of career development activities on the career maturity of mathayom suksa three studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาสังคมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupin_pu_front.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_ch1.pdf13.33 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_ch2.pdf19.68 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_ch3.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_ch4.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Yupin_pu_back.pdf48.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.