Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65621
Title: การวางแผนพัฒนาสถานีรถไฟกลางบางซื่อและบริเวณโดยรอบ
Other Titles: Development plan for Bang Su Central Raiway Station and its surrounding areas
Authors: เชาวลิต สิมสวย
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sakchai.K@Chula.ac.th
Subjects: สถานีรถไฟ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาเมือง -- ไทย -- บางซื่อ (กรุงเทพฯ)
สถานีรถไฟบางซื่อ
Railroad terminals -- Thailand -- Bangkok
Urban development -- Thailand -- Bang Su (Bangkok)
Bang Su Central Raiway Station
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวางแผนพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ มีเป้าหมายเพื่อต้องการศึกษาศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่รองรับการพัฒนาเป็นหัวลำโพง 2 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสถานีรถไฟบางซื่อและพื้นที่โดยรอบในการรองรับการขยายตัว ของสถานีรถไฟบางซื่อใหม่ หรือหัวลำโพง 2 กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาศักยภาพบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ ในการรองรับการพัฒนา ของสถานีรถไฟบางซื่อใหม่หรือหัวลำโพง 2 กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟบางซื่อ และพื้นที่โดยรอบ การศึกษาพื้นที่สถานีรถไฟบางซื่อและบริเวณโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ 2,500 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นที่ตั้งระบบราง ที่ตั้งสถานี และพื้นที่ขนส่งสินค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ น้อย เนื่องจากมีคลองกันระหว่างพื้นที่สถานีรถไฟกับชุมชนโดยรอบ ประกอบกับระบบโครงข่ายคมนาคมและการเข้าถึงไม่เพียงพอ จึงไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน ในการศึกษาพื้นที่ได้แบ่งออก 2 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่ตั้งสถานีรถไฟ ตลอดจนเส้นทางรถไฟ ระบบโครงข่ายคมนาคมอื่น ๆ ที่เข้ามาสู่ตัวสถานี และ 2. พื้นที่รองรับการขยายตัวจากการเกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 ทั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ 4 วิธี ได้แก่ 1. SWOT ANALYSIS โดยจุดแข็งในต้านกายภาพ คือ พื้นที่เป็นที่ตั้งโครงการศูนย์กลางระบบขนส่งกรุงเทพมหานครด้านเหนือ (Intermodal Station) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งมวลชนระบบราง ส่วนโอกาสการพัฒนาเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร 2. LOCATION ANALYSIS เป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ตลาด ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน แหล่งงาน และสวนสาธารณะ 3. SITE ANALYSIS ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินในพื้นที่ตั้ง การเข้าถึง การขนส่ง การใช้ที่ดินของการรถไฟ เป็นต้น และ 4. SIEVE ANALYSIS พื้นที่รองรับกิจกรรมพาณิชย กรรมที่เหมาะสม ได้แก่ บริเวณพื้นที่ของสถานีรถไฟบางซื่อ ส่วนพื้นที่บริเวณย่านประชาชื่น เหมาะในการเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อม ดังนั้นพื้นที่นี้จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 โดยที่ตั้งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่าง ๆ ขนาดของพื้นที่เพียงพอ และเป็นที่ตั้งของระบบโครงข่ายคมนาคม มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ เป็นการใช้ที่ดินแบบผสมผสาน (MIXED USE) โดยต้องขยายการบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและการพัฒนาพื้นที่ริมนำบริเวณคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตลอดจนเป็นแหล่งนันทนาการแก่ชุมชน ส่วนบริเวณที่ตั้งสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 กับระบบโครงข่ายคมนาคมอื่น ๆ จะต้องใช้พื้นที่รองรับประมาณ 400 ไร่ โดยจะพัฒนาระบบถนนเชื่อมระหว่าง ถนนกำแพงเพชร 2 กับถนนประชาชื่น ขยายผิวจราจรแนวเหนือ -ใต้ ถนนเทอดดำริเชื่อมกับถนนวงศ์สว่าง การเพิ่มจุดขึ้น - ลงในพื้นที่เชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 2 และพัฒนาเส้นทางเชื่อมบนดินระหว่าง สถานีรถไฟใต้ดินจตุจักรกับสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ ระบบการขนส่งเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอกใช้ รถเมล์ ประเภทต่าง ๆ รถไฟฟ้า รถยนต์ สำหรับการขนส่งเชื่อมโยงในพื้นที่ใกล้เคียงจะใช้ การเดิน รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ซึ่งเมื่อเกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ เกิดการพัฒนาด้านพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย ตลอดจนคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
Other Abstract: The study objectives are as follows: I. Study the problems of Bang Sue Railway Station and surrounding area to support expansion of the new Bang Sue Railway Station (Hua-Lampong II). II. Analyze the potential of Bang Sue and surrounding area to support the development of the new Bang Sue Railway Station (Hua-Lampong II). III. Propose guidelines for developed Bang Sue Railway Station and surrounding area. The study of Bang Sue Railway Station area and neighborhood covered an area about 2.564 square miles. This area includes open space railway system, railway station and goods shipment. The study area is less related with the surrounding areas because there is a canal causing separation of the railway station area from the surrounding communes, and there is not enough accessibility from the transportation network. Following the aforementioned qualifications, they don’t conform to the real potential of this area. The study area was divided into two parts: One, railway station location which is the route of railway and transport network. Two, the support area for expansion of the second Hua-Lampong Railway Station. The four methods used for analysis as the following: One, the SWOT analysis shows physical strength of the study area where the North of the Intermodal Station will be located especially rail system. The opportunity of development is focused on the government policy for releasing the traffic jam. Two, the location analysis indicates the center of multiple activities of the study area, such as the markets, supermarkets, office buildings, and parks. Three, the site analysis reveals land use linkages of the study area and state of railway, accessibility and transportation etc. Four, the sieve analysis demonstrates the appropriate location of commercial area: Bang Sue Railway Station area, and the residential expansion: Prachacheun zone due to complete infrastructure facilities. Therefore, the study area has a potential for establishment of the Second Hua-Lampong Railway Station. This location has adequate available space for various activities and good transportation network. The development guidelines around the railway station are of the following. First, the use in this area should be mixed use with the expansion of infrastructures. Secondly, there should be an improvement on water front, at Klong Prem Prachakorn and Klong Bang Sue for better environment. And thirdly, there should be good communal recreation area. However, the Second Hua-Lampong Railway Station including transportation network utilities the total area about 0.41 square miles. The developing of connected streets between Kamphaengpet II and Prachacheun roads, the increasing length and pavement of linked streets between Thoetdamri and Wongsawang roads, the increasing of access points to the Second Stage Expressway and the improving onground connections between Chatuchak and Bang Sue subway station are also performed. The transportation system connects with the outer area should use rail system and cars, while the connection of the neighborhood should use pedestrian way, bicycles, motorcycles and cars. When the Second Hua-Lampong Railway Station is completely constructed, it will facilitate development of infrastructures, commercial and residential area, and better environment quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65621
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.480
ISBN: 9741743351
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.480
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaowalit_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ925.18 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch1_p.pdfบทที่ 1992.34 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.78 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch3_p.pdfบทที่ 35.58 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch4_p.pdfบทที่ 415.12 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch5_p.pdfบทที่ 53.33 MBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_ch6_p.pdfบทที่ 6951.9 kBAdobe PDFView/Open
Chaowalit_si_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.