Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8976
Title: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในสื่อประชาสัมพันธ์ ภายในองค์การขนาดใหญ่
Other Titles: Uses and gratification from internal publictions in large corporation
Authors: ปิยนุช เกตกะโกมล
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: การประชาสัมพันธ์
การสื่อสาร
ความพอใจ
การเปิดรับข่าวสาร
สื่อมวลชน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในองค์การ อันประกอบด้วย วารสาร SC&C Today จุลสาร SC&C Update บอร์ดประชาสัมพันธ์ภายใน วารสาร Thaicom News วารสาร Together we build the future วารสาร Phonelink Family วารสาร INT Sight และจุลสาร Yellow Tips โดยผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานของกลุ่มชินวัตรจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทีเทสต์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 31-35 ปี และ 36-46 ปี มีการเปิดรับข่าวสารมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 20-25 ปี อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ ระดับการศึกษา ลักษณะงาน อายุงาน และค่างาน (Job Grade) แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน (Job Grade) แตกต่างกันมีการใช้ประโยชน์ข่าวสารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน (Job Grade) 1-7 มีการใช้ประโยชน์ข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน (Job Grade) 8 ขึ้นไป อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่มี อายุ เพศ ระดับการศึกษา ลักษณะงานและอายุงาน แตกต่างกัน มีการใช้ประโยชน์ข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน (Job Grade) แตกต่างกันมีความพึงพอใจในปริมาณเนื้อหา จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน (Job Grade) 1-7 มีความพึงพอใจในปริมาณ เนื้อหาจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีค่างาน 8 ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ เพศ ระดับการศึกษา ลักษณะงาน และอายุงานแตกต่างกันมีความพึงพอใจในปริมาณเนื้อหา จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. กลุ่มตัวอย่างมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง การเปิดรับข่าวสารกับการใช้ประโยชน์ข่าวสาร จากสื่อประชาสัมพันธ์ภายใน เท่ากับ .6470 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั้นคือกลุ่มตัวอย่างที่มีการเปิดข่าวสารมาก ก็จะมีการใช้ประโยชน์ข่าวสารมาก
Other Abstract: To study the exposure, uses and gratification of Shinawatra's staff regarding internal publications : (1) SC&C Today, (2) SC&C Update, (3) PR Board, (4) Thaicom News, (5) Together we build the future, (6) Phonelink Family, (7) INT Sight, (8) Yellow Tips. The respondents are 400 Shinawatra's staff. Questionnaires were used to collect the data. Statistical techniques used for data analysis were percentage and mean, Pearson's product moment correlation, t-test and one way ANOVA. Results of the study are as follows: 1. There is a significant difference between the respondents aged 31-35, 36-46 and those aged 20-25 in media exposure. The respondents aged 31-35 and 36-46 have a higher exposure than those aged 20-25 However, there is no significant difference between the respondents with different sex, education, positions, working experiences and job grade in media exposure. 2. There is a significant difference between the respondents with 1-7 job grade level and those with above 8 Job Grade level in uses of internal publications in that the respondents with 1-7 job grade level have higher uses of internal publications than those with above 8 job grade level. However, there is no significant difference between the respondents with different age, sex education, positions and working experiences in uses of internal publications. 3. There is a significant difference between the respondents with 1-7 job grade level and those with above 8 job grade level in gratification in content volumn in that the respondents with 1-7 job grade level are more gratified with the content volumn of internal publications than those with above 8 job grade level. However, there is no significant difference between the respondents with different age, sex education, positions and working experiences in gratification with content volumn of internal publications. 4. The exposure significantly correlates with the uses of internal publications equivalent to .6470 which is high.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8976
ISBN: 9746390295
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanuch_Ke_front.pdf949.06 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_ch1.pdf771.03 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_ch2.pdf985.14 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_ch3.pdf737.89 kBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_ch4.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_ch5.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Piyanuch_Ke_back.pdf787.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.